Home / 68 / 69 / 70 / 71 / 72 / 73 / 74 / 75 / 76 / 77 / 78 / 79 / 80 / 81 / 82 / 83 / 84 / 85 / 86 / 87 / 88 / 89 / 90 / 91 / 92 / 93 / 94 / 95 / 96 /97/ 98 / 99 / 00 / 01 / 02 / 03 / 04 / 05 / 06 / 07 / 08 / 09 / 10 / 11 / 12 / 13 / 14 / 15 / 16

artist statement



Since 2005, site-specific installation has become the main focus of my work. Most of my installations integrate with the architectural structures in the space, thus encouraging viewers to start noticing the unique qualities of architectural features and to initiate them in exploring and appreciating the beauty of architectural details in other buildings. 

Many of my works are about creating new space, changing the space from what it was into something unfamiliar. I am creating a new experience for the viewers to be part of; walking up a sloped staircase, walking in a small alley that's like a maze or ducking under a tunnel, pushing and smashing objects, touching and moving, walking on a glass carpet, walking in the dark - all these are the direct experience that the viewer can only understand if they interact with it themselves. It is something that cannot be articulated via pictures.

In the process of making and installing the works, I usually worked with a team. I collaborated with artists, writers, engineers, fishermen, contractors, architects, barber, part-time workers, university and high school students. My works are changed and shaped by a group of people whom I have collaborated with. In some of my installations, viewers have become an essential part of the installation.

For a three-year period (2011-2013), my installations had been influenced by the local tradition and culture in Isan or Northeastern Thailand where I'd been living and working for eight years. The Remove Series (2012) reflects the knowledge and experience gained from living and working in Maha Sarakham province. Spirit Under The Chi River (2013) and Chi River (2012) are based on a 21-month research project covering the fishermen's way of life and the fishing-related culture in twelve villages near the Chi River, Maha Sarakham Province. Downfall (2013) was initially inspired by my impression of big trees with unusual forms that I'd found in Roi Et and Maha Sarakham provinces from November 2010 to January 2013.

Since 2014 to 2017, I've started working with the concept of the three R's: Reduce, Reuse and Recycle. Most of the installations, such as Swing (2014,2015) are made from recycled materials that are found on the location. Buried Alive (2015) contains small coffin-like sculptures made from aluminum wire and recycled plastic bags that I've been collecting since 2006. Traverse (2015) is about using materials which are recycled from my earlier art pieces such as Gradual (2008) and Shatter (2014).

In 2019, all projects have some transformative and unpredictable components. There are four different types of presentations in "The Uncertain" that depends on the daily Bangkok's weather condition - cloudy, sunny, partly cloudy or shower. In addition, as time passes, the sculptures are growing little by little like how tree grow. In the work titled, "How Much You Can Tolerate" the handwritten text about the air pollution in Chiang Mai on the gallery floor is erased and edited by viewers' footsteps. The photographic prints are fading and integrating with the surroundings could be observed from the "Local Influence Series". A thief initiates the creation of the work, "Late Arrival".



แนวคิดในการทำงาน

เวลาเดินเข้าไปในห้องใดห้องหนึ่ง กี่ครั้งที่เราแหงนมองดูเพดานของห้องนั้น กี่ครั้งที่เราสังเกตว่าในห้องนั้นมีเสาทั้งหมดกี่ต้น หรือมีจำนวนมุมห้องทั้งหมดกี่มุม ห้องในแต่ละสถานที่ต่างมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว เมื่อใดก็ตามที่ผมเข้าไปในห้องหรืออาคารที่เคยเข้าเป็นครั้งแรก ผมจะสนุกกับการกวาดสายตาสำรวจงานออกแบบโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมภายในห้องหรืออาคารนั้น ผมค้นหาส่วนประกอบของโครงสร้างที่ทำให้ห้องหรือตึกนั้นมีลักษณะแตกต่างไปจากสถานที่อื่น โครงสร้างส่วนที่เป็นลักษณะพิเศษนี้ได้กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในแต่ละพื้นที่


ผลงานของผมหลายชิ้นเป็นเรื่องของการสร้างพื้นที่ขึ้นมาใหม่ การเปลี่ยนความคุ้นชินของพื้นที่ห้องนิทรรศการ การสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้คนดูได้เข้ามามีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นการเดินขึ้นบนขั้นบันไดที่สูง การเดินในช่องทางเดินคล้ายเขาวงกต การมุดลอด การเหวี่ยงหรือกระแทกวัตถุ การจับและพลิกดู การเดินบนพรมแก้ว การเดินในที่มืด ประสบการณ์เหล่านี้เป็นประสบการณ์ตรง ที่คนดูจะต้องมาสัมผัสหรือรู้สึกด้วยตัวเอง เป็นสิ่งที่ไม่สามารถถ่ายทอดผ่านทางภาพถ่ายได้


ในกระบวนการสร้างสรรค์และติดตั้งผลงาน ผมมักจะทำงานในลักษณะเป็นทีม ผมสร้างสรรค์ผลงานร่วมกับผู้คนจากหลายหลายอาชีพ เช่น ศิลปิน นักเขียน วิศวกร คนหาปลา ช่างรับเหมา สถาปนิกก่อสร้าง ช่างตัดผม คนงานรับจ้างรายวัน นิสิตนักศึกษา และนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ผลงานของผมมีการปรับเปลี่ยนหรือผันแปรไปตามผู้คนที่ผมได้ร่วมงานด้วย ในผลงานอินสตอลเลชั่นหลายๆชิ้น คนดูเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของชิ้นงาน 

ในช่วงปีพ.ศ. ๒๕๕๔​ ถึง พ.ศ. ๒๕๕๗ ผลงานอินสตอลเลชั่นที่ผมสร้างสรรค์ ได้รับแรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมและประเพณีของอีสาน ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ผมได้ใช้ชีวิตและทำงานเป็นระยะเวลาแปดปี ผลงานชุด เลาะ พ.ศ. ๒๕๕๕ สะท้อนให้เห็นถึงความรู้และประสบการณ์ ที่ได้รับจากการใช้ชีวิตในจังหวัดมหาสารคาม ผลงานชุด พลังชีวิตใต้ลุ่มน้ำชี พ.ศ. ๒๕๕๖ และผลงาน แม่น้ำชี พ.ศ. ๒๕๕๕ เกิดจากการทำวิจัยเป็นเวลา ๒๑ เดือน รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนหาปลา และวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับปลาในหมู่บ้ายจำนวน ๑๒ หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในบริเวณติดกับแม่น้ำชี จังหวัดมหาสารคาม ผลงาน ล้มทั้งยืน พ.ศ. ๒๕๕๖  ได้รับแรงบันดาลใจเบื้องต้นจากความประทับใจในรูปทรงที่แปลกของต้นไม้ใหญ่ ที่ผมได้พบในจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดมหาสารคาม ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๒ ถึงเดือนธันวาคม ๒๕๕๕

ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ จนถึงปี ๒๕๖๐ ผมเริ่มสร้างสรรค์โดยใช้แนวคิด3R ได้แก่ การลดปริมาณ การนำกลับมาใช้ใหม่และการรีไซเคิล ผลงาน เหวี่ยง พ.ศ. ๒๕๕๗ และ ๒๕๕๘ สร้างขึ้นจากวัสดุเหลือใช้ที่พบในพื้นที่ของสถานที่ที่จัดแสดงนิทรรศการ ผลงาน ฝังทั้งเป็น พ.ศ. ๒๕๕๘  เป็นประติมากรรมขนาดเล็กรูปทรงคล้ายโลงศพ สร้างขึ้นจากลวดอลูมิเนียมและถุงพลาสติกที่นำกลับมาใช้ใหม่ ถุงพลาสติกเหล่านี้ผมได้เก็บสะสมมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ และผลงาน ผ่าน พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้นำวัสดุจากผลงาน หน่วง พ.ศ. ๒๕๕๑ และผลงาน สลาย พ.ศ. ๒๕๕๗ มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน


ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ การเปลี่ยนรูปและการไม่สามารถคาดเดา ได้ถูกนำมาเป็นองค์ประกอบของแนวคิดในผลงานทุกโครงการ เช่น รูปแบบงานที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพอากาศในแต่ละวันของกรุงเทพ ในความคลุมเครือและคลาดเคลื่อน คือ วันที่มีเมฆมาก วันที่แดดออกเป็นส่วนมาก วันที่มีเมฆเป็นบางส่วน และ วันที่มีฝนฟ้าคะนอง และงานประติมากรรมที่ค่อยๆเติบโตขึ้นเรื่อยๆคล้ายกับต้นไม้ ผลงาน ทนได้ทนไป คนดูจะเป็นผู้ที่ตัดต่อเนื้อหาของงานเขียนในผลงาน งานเขียนด้วยลายมือบนพื้นแกลเลอรี่เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศในเชียงใหม่ จะถูกลบจากการเดินของคนดู สีสันในผลงานชุด ท้องถิ่นนิยม ซึ่งเป็นงานภาพถ่าย จะค่อยๆซีดลงและค่อยๆกลืนไปกับผนังของห้องนิทรรศการ ผลงาน มาทีหลัง ในนิทรรศการชื่อว่า อย่ารอให้ถึงพรุ่งนี้ คนดูที่ขโมยผลงานเป็นต้นกำเนิดของผลงาน เขาหรือเธอได้กลายมาเป็นผลงาน

_________________________________________________________________________________


sITE-sPECIFIC iNSTALLATION - Making Each Space Unique

Most of the installations originate from its exhibition spaces. Each space is being slowly explored and observed in various aspects: architectural design, history, geography, ecology, local community, literature, etc. All the data collection are being used as sources to formulate ideas; this process could take days, months or a year. The selection of materials and mediums come after the chosen idea, and sometimes it is the other way round. In favor of learning new skills, fellow artists and professional technicians are engaged. The hardest part is probably the installation period as the time is limited, the team is exhausted and the new problems constantly occur.

Every now and then, the starting point derives from the exhibition concept, particularly group exhibitions in which curators are in charge. In this fashion, there is no strict rule of working practices. In the same way, site-specific installation is not meant to be a signature style, but a long journey in specific areas. Most of the installations disappeared after the exhibitions.

12 March 2020, Chiang Mai

































อินสตอลเลชั่นแบบเจาะจงพื้นที่ - เมื่อพื้นที่เป็นโจทย์ แต่บางครั้งพื้นที่ก็เป็นรอง


ด้วยความสนใจที่จะมองหาเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละพื้นที่ จึงมักจะใช้พื้นที่เป็นโจทย์ตั้งต้นก่อน และใช้เวลาค่อยๆสำรวจและสังเกตพื้นที่ในแง่มุมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ พฤกษศาสตร์ ชุมชนท้องถิ่น วรรณกรรม ฯลฯ เพื่อเรียนรู้และนำข้อมูลที่รวบรวมมาจากแหล่งต่างๆ มาพินิจพิเคราะห์ จนเกิดเป็นไอเดีย ซึ่งกว่าจะได้ไอเดียในการทำงาน ใช้เวลาเร็วบ้าง ช้าบ้าง ก่อนที่จะเลือกไอเดียที่ตนเองสนใจที่สุด มาทดลองหาความเป็นไปได้ต่างๆของวัสดุ ที่จะมาถ่ายทอดไอเดียนั้น ส่วนการผลิตชิ้นงาน แตกต่างกันไปในแต่ละโครงการ มีทั้งที่ทำเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะพยายามทำเอง เพื่อจะได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ และประหยัดต้นทุนการผลิต จ้างเขาบ้างเพราะทำไม่เป็น หรือช่วยกันทำเพราะมีเวลาจำกัดในการผลิต ที่เหนื่อยและเครียดที่สุด น่าจะเป็นช่วงเวลาของการติดตั้งผลงาน ที่ต้องทำงานในช่วงเวลาจำกัดและผิดพลาดน้อยที่สุด ทีมงานที่ช่วยติดตั้งจึงมีความสำคัญมาก

แต่บางครั้งโจทย์ในการทำงานก็มาจากแนวคิดนิทรรศการ โดยเฉพาะนิทรรศการกลุ่ม ที่คิวเรเตอร์ทำหน้าที่คล้ายกับนายท้ายเรือ และก็มีบางครั้งที่ใช้วัสดุหรือสื่อเป็นจุดตั้งต้นก่อน ดังนั้นจึงไม่มีสูตรตายตัว และก็ไม่ได้ตั้งใจว่าจะทำงานอินสตอลเลชั่นแบบเจาะจงพื้นที่เสมอไป เพียงแต่ที่ผ่านมา อาจจะทำงานประเภทนี้อย่างสม่ำเสมอ มีงานที่ดีบ้างและไม่ดีบ้างปะปนกันไป และผลงานส่วนใหญ่มีอายุขัยสั้น

๑๒ มีนาคม ๒๕๖๓ จ.เชียงใหม่




back
Home / 68 / 69 / 70 / 71 / 72 / 73 / 74 / 75 / 76 / 77 / 78 / 79 / 80 / 81 / 82 / 83 / 84 / 85 / 86 / 87 / 88 / 89 / 90 / 91 / 92 / 93 / 94 /95 / 96/ 97 / 98 / 99 / 00 / 01 / 02 /03 / 04 / 05 / 06 / 07 / 08 / 09 / 10 / 11 / 12 / 13 / 14 / 15 / 16 /