Home / 68 / 69 / 70 / 71 / 72 / 73 / 74 / 75 / 76 / 77 / 78 / 79 / 80 / 81 / 82 / 83 / 84 / 85 / 86 / 87 / 88 / 89 / 90 / 91 / 92 / 93 / 94 / 95 / 96 /97/ 98 / 99 / 00 / 01 / 02 / 03 / 04 / 05 / 06 / 07 / 08 / 09 / 10 / 11 / 12 / 13 / 14 / 15 / 16

The Artist Collaboration Project, 2009 Standing by 000


Title : Project Standing By 000. season 5
Date : July 19th 2009 - August 25th 2009
www.standingby.net

organizer: MIZY Center
Management: MIZY Center, Alternative Space Loop
http://www.mizy.net, www.galleryloop.com

Workshop: July 19th - August 17th, 2009

Exhibition : August, 2009
Opening Reception : August 18th, 2009
Venue: Dukwon Gallery, Seoul, Korea

This project will be an active opportunity to find a connection between genres and between generations in today's tendency of art there are no particular division of each genre. This project will also provide a chance to cultivate new capable artists suggesting extended visual and cultural experiences demanded by 21st century. Artists who deal with various ranges of medium of art like media, performance, painting, installation and video collaborate on this project with students in order to get a chance to communicate and understand each other's differences. The accomplished work based on this process will help to have various perspectives and find the connection each other.
back

Concept of 'Stand and Fall'

Jedsada tangtrakulwong 젯사다 땅뜨라꾼웡

Stand and Fall, a six weeks research project to create an installation art. The work will consist of hundreds of house shaped units. Each unit consists of two parts; front and base part. The front part can turns into the base and the base can turns into the forefront, vice versa.

According to the title of this work, Stand and Fall, the visual image on the planes of each unit of house shape objects create an optical illusion. The surface of both front and base parts are illustrated with the same character, house shaped, with dark colour and different angles. As a consequence, seeing only the illustrated part, all the house shaped units seems to be falling down toward the floor, creates a false idea of the collapsed houses. Furthermore, the interchangeable function with each other between the base and forefront of each unit also suggests the title of this installation.

In the end of this project, an interactive installation is created inside of the container. Viewer is invited to touch, move, and change the piece. The more viewers interact directly with the work, the more new forms of installation are created.

During the exhibition period, viewers are invited to revisit the piece as the work is constantly changing every week.

그곳 속에서 그의 접촉

철저한 이방인 젯사다의 서울 도심 속 이방, 효자동에서의작업은 시작일은 있으나그 완성은 언제임을 결정짓지 않는작업 방식을 취하기로 했다.이것은 다분히 의도적인 것으로 Project space Kunstdoc은 다시 ‘서서히 스며들기’를 통해 효자동 골목길속 예술적 소통의 또 다른 존재적 꼴을 취해 보려 하기 때문이다. 젯사다는 효자동을 통해 부여되어지는 이미지, 그리고 자신의 존재적 감성을 며칠 간격을 사이에 두고 컨테이너 전시공간속 설치로 드러내 보일 것이며설치는 효자동 골목진 시간과 함께 변화되어작업이 진행되어 감에따라 하나의 보고報告로 기록 될 것이다. 이 전시는 그 진행과정에 목적을 두고자 함이며 전시가 마무리 되는 그 순간 또한 완성의 유종으로 의미 짓지 않고자 한다. 효자동의 머물러있는 시간과 공간은‘Stand and Fall' 로 변주되어 서서히 조합되어질 것이고 소통되어지는 모습들은 또 하나의 퍼포먼스로서더 심연한 의미를 지닐 것이다.그가 이번 전시에서 사용할 설치 작업의 unit은 작은 솔방울의 비늘을 시각적 인식으로 재해석한 것이다. 이방인의 시선으로 읽혀진 한국의 상징적 존재인 소나무의 솔방울은 한국의 낮은 지붕 가옥들이밀집해 있는 형상들로 조형화 되어 지붕아래 스치고 남겨진 폐쇄된 전통성과 현대 미술을united하는 역할로 유도하게 될 것이며

이번 전시가 다르지만 같은 본질인 '이방성‘을 공유하고 있는

두 존재의수줍은 말붙임이 되리라 기대해 본다.
●전시 기획, 글-Project space Kunstdoc 큐레이터 김현지

http://www.kunstdoc.com/

back

Review of 'Gradual'


Another of his work, “Gradual”, shows his intention to slow down and capture the viewers’ attention. This particular piece of work is on display in the “Krungthep 226 Exhibition” at the Bangkok Art and Cultural Centre. “Gradual” is displayed on the 56 m. mezzanine between the 7th and the 8th floor.

Jedsada finds that people these days are always in a hurry to get to their destination and often forget to look around them whether they are traveling to work or even walking in an art gallery. Materials used in this artwork are what are common in construction sites in Bangkok.

He uses plastic net, mosquito nets and other construction materials to encompass the viewers within the mezzanine and blind them to their surroundings. Sculptural posts are put through out the space so that passersby have to circle around them or their visual sight are limited, thus, make it inevitable for them to slow down. These posts also serve to pull the readers attention towards the present.

Jedsada cleverly plays tricks with colors and lighting. Sometimes things that are far away may not seem the same as when inspecting it close-up. The artist also hides yellow mosquito nets under black plastic net so as to invite the readers to slow down and inspect the work more carefully on the sloping mezzanine and indulge in their feelings.


-Apisak Sonjod, curator of "Krungthep 226 Exhibition"

back

'Krungthep 226' Exhibition



The art exhibition: KRUNGTHEP 226 The Art from Early Days Bangkok to The Imagined Future.

Curated by Luckana Kunavichayanont and Apisak Sonjod.


16 December 2008 – 15 February 2009 At the Bangkok Art and Cultural Centre gallery Floor 5F, 7F, 8F)
Open hours: Tuesday – Sunday (except Mondays), 10 a.m. – 9 p.m. Free Admission

Venue: the Bangkok Art and Cultural Centre.
Address: 939 Rama 1 Road, Wangmai, Pathumwan, Bangkok 10330
Tel. 02.214.6630-1 Fax 02.214.6632

นิทรรศการ 'กรุงเทพ226'



นิทรรศการศิลปะ กรุงเทพ 226 ศิลปะจากยุคสร้างบ้านแปงเมือง สู่กรุงเทพฯในฝัน

ภัณฑารักษ์: ลักขณา คุณาวิชยานนท์ และ อภิศักดิ์ สนจด
จัดแสดงระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม 2551 -15 กุมภาพันธ์ 2552 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (บริเวณ ชั้น 5, 7, 8)เวลา 10.00 น. – 21.00 น.วันอังคาร – วันอาทิตย์ (หยุดวันจันทร์) ชมฟรี
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
939 ถนนพระราม 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร. 02.214.6630-1 โทรสาร 02.214.6632

Concept of 'Gradual'

As life in Bangkok spins as fast as other metropolis, people tend to be busy with their business, careers, education, economies and daily lifestyle. According to Gradual is a part of the imagined future Bangkok zone in the exhibition, I try to create a site-specific installation which slows down the speed of life in Bangkok. A walking route on the ramp between 7th and 8th floor is designed to make viewer reach the end of the ramp as slow as possible.

The forty-three large columns are installed on the fifty-two meters ramp forming a zigzag walking route. Each column rising to 500 centimeters in height and is about 60 centimeters in diameter. Three layers of different materials; black shading net, yellow translucent net and black plastic net are used to form a column. Columns are created with the purpose of blocking part of walking route rather than being aesthetic sculpture.

The mosquito net keep viewer from the distraction of strong sunlight, other parts of building and seclude them for a meditative stroll. The white colour and translucent quality of the mosquito net reduce the intensity of shading net, and make the piece in harmony with other works in the show. The enclosed net also prevents columns from falling into people on the ground floor.


27 November 2008

back

แนวคิด 'หน่วง'

ผลงาน หน่วง เป็นผลงานที่คิดโดยใช้พื้นที่ของหอศิลป์และชื่อโซน กรุงเทพฯ ในฝัน (Dream Bangkok) เป็นโจทย์ กรุงเทพฯในฝันของผม คือ เมืองใหญ่ที่คนที่อาศัยอยู่ไม่ต้องมาเคร่งเครียดเกี่ยวกับเรื่องเวลา รีบตื่น รีบกิน รีบเดิน รีบขับรถ รีบขึ้นรถ รีบไปธุระที่อื่นต่อ รีบซื้อของ รีบกินเหล้า รีบไปรับลูก รีบเข้าห้องน้ำ รีบมีความสัมพันธ์ทางเพศ รีบตามกระแสแฟชั่น รีบเช็คเมลล์และรีบตอบเมลล์ รีบอ่านข่าว รีบที่จะสื่อสาร รีบที่จะประสบความสำเร็จรีบร้อนและรีบเร่งตลอดเวลา ใช้เวลาตามตัวเลขหรือเข็มนาฬิกา กี่ครั้งที่เรามีสติและใช้เวลาที่ดำเนินไปในปัจจุบัน รับรู้ว่าเรากำลังเดินอยู่ กำลังกินอยู่ กำลังขับถ่ายอยู่ การพัฒนาไม่ได้หมายถึงการใช้เวลาช่วงสั้นๆในการกระทำสิ่งใดให้ลุล่วงและสำเร็จ การพัฒนาน่าจะเป็นการเข้าใจและยอมรับถึงความหลากหลาย ความแตกต่างทางศักยภาพของแต่ละคน

ผมจึงพยายามเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในกรุงเทพ พยายามให้เขาทำอะไรช้าๆดูบ้าง จึงออกแบบทางเดินให้ซับซ้อน และให้เส้นทางการเดินวกไปวนมาหรือทำให้เขาต้องเดินอ้อมมากที่สุด ทำให้เกิดแนวคิดในการนำเอาเสามาขวางตามเส้นทางการเดิน ผมไม่ได้ให้ความสำคัญกับความสวยงามของเสา เนื่องจากเป้าหมายหลักคือต้องการทำให้คนดูใช้เวลาในการเดินนานที่สุด เสาจึงเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่ง การที่ใช้สแลนสีดำ เพราะต้องเน้นผ้าโปร่งแข็งสีเหลืองที่อยู่ด้านใน สีดำและสีเหลืองแทนความมืดและความสว่าง ความทุกข์กับความหวัง ถ้าใช้สแลนสีเขียวหรือตาข่ายพลาสติกหกเหลี่ยมสีเขียว ผ้าโปร่งแสงก็เป็นเพียงผ้าที่มาประดับเสาให้สวยงาม มีสีสันมากขึ้น แต่ไม่ได้แทนความหวังตามที่ผมตั้งใจไว้ มันเป็นความหวังของผมเหมือนกันว่า เมื่อคนดูเดินไปตามเส้นทางที่เต็มไปด้วยเสาต่างๆ เมื่อเขามองเสาในทิศทางที่ย้อนแสงจะมองเห็นสีเหลืองที่เรืองอยู่ในเสา คล้ายกับเป็นความหวังและกำลังใจที่จะทำให้เขาเดินต่อไปในทางที่ลดเลี้ยวด้วยการก้าวย่างอย่างช้าๆและลำบาก

ส่วนมุ้งตาข่ายไนล่อนสีขาวนั้น ผมต้องการให้คนดูมีสมาธิกับงาน จึงปิดกั้นไม่ให้คนดูเห็นโครงสร้างสถาปัตยกรรมและงานออกแบบส่วนอื่นๆที่อยู่ในอาคาร ตัดขาดคนดูออกจากโลกภายนอกคล้ายสร้าง space หรือพื้นที่ใหม่ซ้อนทับพื้นที่เดิมของหอศิลป์ ผ้ามุ้งยังช่วยลดน้ำหนักสีดำของสแลนให้เบาบางลง ไม่ให้งานโดดหรือหลุดไปจากผลงานชิ้นอื่นในนิทรรศการและเมื่อมองจากชั้นอื่น ผ้ามุ้งจะช่วยสร้างมิติและความลึกลับ คนดูที่เดินไปตามเส้นทางเดินจะมองเห็นในบางจุด และหายไปในบางจุดของทางเดินจากการถูกเสาบัง ผ้ามุ้งยังช่วยในเรื่องของความปลอดภัย ในกรณีที่เสาที่ติดตั้งหลุดจากพื้นทางเดิน จะได้ไม่เอนหล่นหลุดจากขอบระเบียงลงไปยังชั้นล่างของอาคาร

๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒

นิทรรศการ 'ผู้แสวงหากับศิลปะร่วมสมัย' / Wanderlust Exhibition



WANDERLUSTThe artist in residency programme 'Wanderlust' was created by Nine to the power of Nine and Tadu Contemporary Art in association with Hof Art and Srinakharinwirot University. The intention of the programme is to offer two groups of artists to experience a sense of wanderlust, and to give them an opportunity for cultural exchange and development of work. During the residency nine London based artists join six Thai artists for a 4-week programme in Bangkok, followed by three interlinked exhibitions.

Tadu Contemporary Art Gallery
Opening Reception: Thursday, 11 September 2008 at 6 pm.
Ittirawee Chotirawee, Gareth Fox, Ryosuke Kawana, Supoj Sirirachaneekorn and Taryn Takahashi
7th flr., Barcelona Motor Blgd., Tiemruammit Rd., Huaykwang
Tel. 02-645 2461/02-645 2473 Fax. 02-645 2460/02-6452473

Srinakharinwirot University Art Gallery
Opening Reception: Friday, 12 September 2008 AT 5 pm.
Chumpol Akkapanthanon, Frank Fischer, Ludovica Gioscia, Jockel Liess and Jedsada Tangtrakuwang
114 Sukhumvit 23, Bangkok 10110
Tel. 02-649 5496/02-649 5497/02-649 5505 Fax: 02-260 0123 ext.115

Hof Art Gallery
Opening Reception: Saturday, 13 September 2008 AT 6 pm.
Julio Brujis, Bathma Kaew-Ngok, Arthit Mulsarn, Makiko Shimozato and Auttapon Suetongprasert
Performance by Paisan Pieanbangchang

'The way to Wanderlust' discussion on Saturday 13, 2008 from 15:00-18:00
244, 248 Soi Vipawadee 16/32, Vipawadee Rangsit Rd, Dingdang Bangkok 10400
ศิลปินกลุ่ม “Nine to the Power of Nine” เกิดจากการรวมตัวกันของศิลปินหลายเชื้อชาติจากประเทศต่างๆ เช่น อิตาลี อังกฤษ ญี่ปุ่น เยอรมัน เปรู สวิสเซอร์แลนด์ ฯลฯ ที่ศึกษา ทำงานและใช้ชีวิตในเมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ กลุ่มนี้เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี 2003 โดยศิลปินไทย คือ นายอิทธิรวี โชติรวี

การค้นหาและการสะสมประสบการณ์ของศิลปินกลุ่มนี้ ทำให้เกิดผลงานที่หยิบยกมาจากสิ่งต่างๆที่เราทุกคนสามารถมองเห็นและสัมผัสได้ในชีวิตประจำวัน แต่กลับถูกมองข้ามไปมานำเสนอ โดยอาศัยจินตนาการของพวกเขาผสมผสานกับเทคนิคการนำเสนอที่ต่างกันไป เช่น ภาพเขียน งานประติมากรรม การจัดวาง เป็นต้น ด้วยเหตุนี้นิทรรศการล่าสุดที่กำลังจะเกิดขึ้นของพวกเขาจึงได้ชื่อว่า “Wanderlust”

ในงานนิทรรศการครั้งนี้นอกจากศิลปินกลุ่ม “Nine to the Power of Nine” แล้วยังได้มีศิลปินไทยเข้าร่วมแสดงโครงการครั้งนี้ด้วย ถือได้ว่าเป็นการแลกเปลี่ยนและประสานทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศไทยและประเทศอังกฤษอีกทางหนึ่ง
12 กันยายน – 14 ตุลาคม 255: หอศิลปกรรมศรีนครินทรวิโรฒ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร หอศิลป์ตาดู และศูนย์ศิลปะ Hof Art

ศิลปินผู้เข้าร่วมโครงการ : ทาริน ทาคาฮาชิ/อิทธิรวี โชติรวี/กาเรต ฟ็อกซ์/เรียวซึเกะ คาวานะ/จ๊อคคัล ลีส/
ลูโดวิก้า จิโอเชีย/ แฟรงค์ ฟิชเชอร์/ชุมพล อักกาพันธานนท์/จูลิโอ บรูจิส/
มากิโกะ ชิโมซาโตะ/เจษฎา ตั้งตระกูลวงศ์/อัตถพล ซื่อตรงประเสริฐ

Concept of 'Deserted Buildings'


In general, we tend to look at the images and read words from the Manga. The book has been viewed only pictures and words, not the layout which a manga artist is considered and arranged, besides the narrative.

There are twenty three Mangas or Japanese cartoons in this show with a broad range of subjects: fantasy, horror, romance, sports, historical drama, business, science fiction, etc. The pictures of each Manga have been removed, making the book look like deserted buildings in both the appearance and the absence of characters. The layout of each manga is distinctive. The layout of action genre seems to be more dynamic, using frames with jagged edges. On the other hand, the business genre is using the grid of regular rectangular frames.

Since the work is displayed at the outer wall of the gallery, viewer can inspected the piece all the time beside the gallery hours. The risk of the work is being stolen, damaged or vandalized is part of the procedure. Some viewers flip through the work gently, while some viewers are more aggressive with the book. At the end of the exhibition, most books are damaged after one month of being display in the public.


back





แนวคิด 'ตึกร้าง'

ตึกร้าง เป็นผลงานหนึ่งในนิทรรศการ 'Wanderlust ผู้แสวงหากับศิลปะร่วมสมัย'

ผลงานชุดนี้ประกอบด้วยหนังสือจำนวน 23 เล่ม บนลังไม้จำนวน 9 ใบ ติดตั้งบริเวณแผงไม้ด้านหน้าของหอศิลป์การที่ผลงานติดตั้งด้านนอกหอศิลป์ ทำให้คนดูสามารถดูผลงาน ได้ทั้งในช่วงเวลาทำการของหอศิลป์และนอกเวลาทำการ นอกจากนี้การที่ผลงานตั้งอยู่ในพื้นที่สาธารณะ ทำให้คนดูที่เดินผ่านไปมา พลิกดูรายละเอียดด้านในของผลงานแต่ละเล่ม โดยไม่มีอาการเกร็ง

ด้วยการที่ส่วนที่เป็นเนื้อหาของหนังสือถูกตัดออกไป ทำให้หนังสือการ์ตูนแต่ละเล่มไม่มีเรื่องราวหรือเนื้อหา มีเพียงกรอบสีขาวจำนวนมากในแต่ละหน้า หน้าหนังสือที่รวมกันจะดูคล้ายโครงสร้างของตึกจำนวน 4-5 ชั้น ที่ประกอบไปด้วยห้องว่างจำนวนหลายห้องในแต่ละชั้น การชมผลงานหนังสือแต่ละเล่ม สามารถเปิดดูได้ทั้งสองด้าน ไม่มีด้านหน้าหรือด้านหลัง คนดูจึงสามารถเปิดดูผลงานได้สองวิธี คือ เปิดจากซ้ายไปขวา ตามหลักสากล หรือเปิดจากขวาไปซ้าย ตามหลักหนังสือของประเทศญี่ปุ่น จีน ผลงานแต่ละเล่มเลือกใช้หนังสือการ์ตูนที่มีแนวเรื่องต่างกัน หรือแต่ละเล่มจะมีแนวเรื่องไม่เหมือนกัน เช่น แนวผจญภัย แนวการเมือง แนวรัก แนวการพนัน แนววิทยายุทธ แนวย้อนยุค ฯลฯ โครงสร้างหรือการออกแบบช่องภาพในแต่ละหน้าแตกต่างกันไปตามแนวเรื่องและการจัดหน้าของผู้วาดการ์ตูน

พฤติกรรมของคนที่ชมผลงานแตกต่างกันไป บางคนพลิกดูแต่ละหน้าอย่างทนุถนอม ในขณะที่บางคนพลิกเปิดดูผลงานอย่างลวกๆ เร็วๆและแรงๆ ทำให้กรอบสีขาวในแต่ละหน้าพับย่นหรือฉีกขาด ด้วยการที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของแต่ละหน้าหนังสือถูกตัดทิ้งไป จึงทำให้หนังสือมีความเปราะบาง ฉีกขาดง่าย ผลงานแต่ละเล่มจะ ผ่านการเปิดพลิกดูครั้งแล้วครั้งเล่าตลอดระยะเวลาการแสดงผลงานหนึ่งเดือน ทำให้เมื่อเวลาที่การแสดงผลงานสิ้นสุดลง ผลงานแต่ละชิ้นจะเปลี่ยนแปลงหรือแปรรูปไปตามความถี่ของการถูกสัมผัส หรือคนดูเป็นคนสร้างงานขั้นตอนสุดท้าย เป็นคนกำหนดหน้าตาของผลงานชิ้นนั้นๆ


๓๐ กันยายน ๒๕๕๒
back

Concept of 'Fence'


The glass planes of both sided of a parallel escalator is painted with
the yellow and black stripes. The caution sign, usually illustrates with
yellow and black diagonal stripes. The yellow line on the steps of escalator
indicates the edges and the handrail of the escalator normally is in
black colour. The colour that associates with the caution, as well as
the colour of escalator, are being emphasized and used in this work.

Although the up side and down side are placed next to each other,

pedestrians are not supposed to cross over between the handrail
for the safety reason, as suggests from the title of the work, Fence.
As the pedestrians are being carrying up or down between floors,
the yellow and black stripes on the glass planes are moving
towards them. When they’re going up, the yellow stripes are
moving down towards them.

back

A walk through abstract minimalism / Bangkok Post Newspaper _ 6 December 2007




REVIEW: A walk through abstract minimalismby Pattara Danutra

During 1990s, site-specific installation art became a hit. At the time, many local sculpture and media artists began to explore the genre in both conventional galleries and alternative spaces. Unfortunately, after the passing of Montien Boonma, the major proponent of this format, the number of site-specific exhibitions decreased. Some ascribe site-specific installations' reduced popularity on the high expenses they incur, and low profitability. That is to say, they're difficult to sell.

Nonetheless, some art venues still welcome the chance to host this challenging medium. Among them is Tadu Contemporary Art. Two years ago, Tadu hosted Amrit Chusuwan's Being Sand, one of the best site-specific shows of recent years. Now, this leading private gallery is hosting another quality, site-specific experience: Passage by Jedsada Tangtrakulwong. The 35-year-old Jedsada is not only an art lecturer at Mahasarakham University but is also one of the few contemporary local artists to advocate site-specific work.

In Amrit's show two years ago, sand covered the floor of Tadu Contemporary Art. In Jedsada's Passage, thousands of threads of white cotton are used. Jedsada has put nothing inside the gallery except dozens of panels made from threads, which have been hung from the ceiling and arranged in rows to create temporary curtains or walls. On each panel, there is a space between each thread that is equal to the width of the threads themselves. This juxtaposes two artistic perceptions: The tangible component (that is, the threads) and the intangible (the empty space between them). As all the panels are arranged so as to have a narrow passage between them, slim viewers can carefully make their way through these improvised hallways. Others who cannot enter the maze-like passages can still view an unseen hemisphere of the gallery's space.
At the bottom of each panel, a piece of white yarn links the ends of all the threads. As the threads are of different lengths, the yarn forms a curving line. This wavy, horizontal line visually contradicts the vertically hung threads.

This unmistakably conceptual work is clearly the result of enormous effort and the patience during the installation process. To create such an artistic landscape, the artist needed to carefully design and meticulously explore the exhibition space beforehand as well as carefully managing the installation prior to opening. Jedsada has done a good job that has been aided by the gallery allowing him to nail innumerable hooks to floor to hold the threads in place. Passage is a site-specific installation in every sense, particularly as it has been tailor made for the venue and would be difficult to transport to another art space.

The other feature of this room-size project is its lighting. Many small beams of light are projected from lanterns installed on the ceiling with the light shooting out towards the panels in various directions, leaving some parts eerily half-lit.

This visual experience prompts viewers to undertake a moment of esoteric contemplation. For some art fans, this abstract, minimalist work will bring to mind that of Daniel Buren. However, Jedsada has achieved more than his renowned peer. While Buren has used straight stripes to regulate visual images, Jedsada goes further by twisting, cutting, stitching and even re-shaping his stripes into various geometric forms and figures. This was seen in his "Off the Frame" solo exhibition at Hof Art gallery last June. In that show, Jedsada played with the gallery's windows, doors and ceilings, adding temporary lining to these architectural components to change the look of the gallery. Jedsada extended the visual meaning of the gallery's structure in that exhibition. Now, in his current exhibition, he creates a new hemisphere that never existed in the gallery before. In this way, the two solo shows could be viewed as a series. It would be exciting to see this theme continued at other art spaces in future.

The show would benefit from a section displaying photographs of the installation process and sketched drawings of the artist's idea. Such sketches actually are available for viewing in folders near the entrance, though it seems many viewers were unaware of this.

'Passage' is at Tadu Contemporary Art, Barcellona Motor Building, Thiam Ruam Mit Road, until December 20, from 10:30am to 6:30pm, except Sundays.

- Outlook Section, Bangkok Post Newspaper, December 6, 2007


Review of 'Passage' Exhibition
by Apisak Sonjod, Director of Tadu Contemporary Art

The most important things can’t be seen with the naked eye” – The Little PrinceIt is argued that the whole world has been designed and perfected long before human existence; we are only the latecomers.

Jedsada’s work, ever since he took up photography, reflects this idea in a clearer and more understandable light. Seeing the world through the camera lens has helped shaped Jedsada as a visual artist. The camera lens enables one to see clearer into the soul of the object and therefore cut out all other distracting details. In other words, the camera helps Jedsada to see the objects of his desire with his “heart”.

With each artwork, Jedsada observes his subject carefully and chooses to bring out its most or least significant qualities and therefore is presenting alternatives outlook to the subject. His subjects can range from architectural structures, social structures, areas, etc.Theses subjects serve as a jigsaw puzzle for Jedsada in which he can analyze, observe and present them as his piece of art.
This can be seen in his work “Chong” or “Passage” showing at the Tadu Contemporary Art. Jedsada puts a lot of time and travels in this site-specific installation work. The work itself spans the area of about 400 square meters. The artist chooses to present his work through the complicated construction of the gallery’s ventilation system that is painted in the same color as the walls and the ceiling.

In this work, Jedsada makes visible a formerly invisible trail. He ties white ropes from the ceiling, letting them hang down to the floor and, thus, creating a long line of white curtains. These curtains conduct a new walking trail within the gallery and also creating a surreal and maze-like feeling.

“Passage” attracts the viewer attention to minute and otherwise insignificant details in the gallery’s structure. Jedsada invites the viewer to have a closer look into things. Being able to participate and actually be walking through the work of art itself captures the viewers’ attention even more than the surreal qualities of the art piece itself. The way in which the artist chooses to present his work signify his outlook: “still, but yet moving”.


Concept of 'Passage'


If a writer has to begin a story with three sentences from other stories, a chef is required to prepare a meal with leftovers in a saucepan, a painter is assigned to work with a sheet with partial patterns, and how they will cope with the additional matters or remaining parts.

The exhibition space in Tadu Contemporary Art isn't a 'white cube' but a room with the complicated construction of the gallery’s ventilation system; pipes, vents, lamps and cables on its ceiling. If an artist requires to works with all features inside that room, what kind of ideas he/she will come up with.

In general, rooms in a building are purpose-built or designed to be functional. An architect considers the function before making the layout of the building. In case of an art gallery or museum, the walls of the exhibition room are probably the most function of all structure. While the work of art is mostly displayed on the wall, the floor is being used only as a pathway for viewing the exhibition.

Passage, a site specific installation exhibition at Tadu Contemporary Art, the walking path becomes a concept of the piece. A complicated irregular network of passages is created within the space as a labyrinth.

The size and the route of passages are constructed by following the size and direction of air-condition tubes on the ceiling. Viewers are invited to walk through all passageways. As the pathways are different sizes in width, a viewer has to tilt his/her body sideways while preceding the narrow passages.
Walking through the unfamiliar and varying size of passages in the exhibition, the viewer requires to move cautiously and be conscious of his/her steps as a walking meditation performs.


November 28, 2007

back

แนวคิด 'ช่อง'

ถ้านักเขียนเริ่มงานเขียนโดยมีเนื้อหาบางส่วนของงานชิ้นอื่นอยู่ หรือมีเนื้อเรื่องจากเรื่องที่ตนเองไม่ได้เขียนอยู่สองสามบรรทัด เขาจะจัดการกับเนื้อหานั้นอย่างไร ถ้าเขาไม่สามารถลบมันทิ้งได้ ถ้านักดนตรีเริ่มต้นแต่งเพลงโดยมีทำนองของเพลงอื่นอยู่ท่อนหนึ่ง เขาจะจัดการกับทำนองที่มีอยู่แล้วอย่างไร ถ้าพ่อครัวเริ่มต้นปรุงอาหารโดยมีอาหารที่ปรุงแล้วบางส่วนอยู่ในกะทะ เขาจะเขี่ยสิ่งที่มีอยู่ในกะทะทิ้งไป หรือว่าจะใส่ส่วนผสมเพิ่มเติมลงไปกับอาหารที่มีอยู่แล้ว ถ้าจิตรกรสร้างผลงานโดยเริ่มต้นจากกระดาษที่ไม่ว่างเปล่า แต่มีรูปร่างหรือลวดลายอยู่บนพื้นที่บางส่วนของหน้ากระดาษ เขาจะต่อเติม ดัดแปลง หรือกลบสีทับลวดลายเดิมหรือไม่

ถ้าเปรียบห้องแสดงนิทรรศการศิลปะในหอศิลป์ตาดูเป็นกระดาษแผ่นหนึ่ง พื้นที่บนหน้ากระดาษแผ่นนี้ก็คงไม่ว่างเปล่า แต่เต็มไปด้วยรายละเอียดของโครงสร้างภายในห้อง เช่น ท่อและช่องระบายลมจากเครื่องปรับอากาศ สายไฟ และรางไฟ ศิลปินจะมีวิธีการจัดการกับโครงสร้างที่มีอยู่แล้วอย่างไร

โดยทั่วไปแล้ว ห้องในอาคารต่างๆจะถูกออกแบบโดยเน้นประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก โดยผู้ออกแบบจะแบ่งพื้นที่ใช้สอยของห้องตามลักษณะการใช้งานของผู้อาศัย ในส่วนของห้องแสดงผลงานนิทรรศการศิลปะ โครงสร้างของห้องที่ถูกใช้สอยมากที่สุดมักจะเป็นฝาผนังต่างๆที่อยู่ภายในห้องนั้น โดยใช้ในการติดตั้งและนำเสนอผลงานศิลปะ พื้นที่ตรงกลางห้องมักจะถูกปล่อยให้เป็นพื้นที่เปิดโล่ง เพื่อใช้เป็นทางเดินในการชมผลงานศิลปะ ถ้าพื้นที่ทางเดินสำหรับให้คนเดินชมนิทรรศการไม่ได้อยู่บริเวณตรงกลางห้อง จะเป็นอย่างไร ถ้าโครงสร้างของห้องถูกปรับเปลี่ยนโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยจะเป็นอย่างไร

“ช่อง” นิทรรศการที่จัดขึ้นที่หอศิลป์ตาดู ทางเดินได้กลายมาเป็นแนวคิดหลักในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในนิทรรศการนี้พื้นที่ทางเดินภายในห้องแสดงผลงานได้ถูกออกแบบและปรับเปลี่ยนขึ้นใหม่ ให้มีรูปแบบคล้ายเส้นทางในเขาวงกต ขนาดของช่องทางเดินและเส้นทางการเดินถูกกำหนดขึ้น จากแผนผังของท่อเครื่องปรับอากาศจำนวนมากที่ติดอยู่บนเพดานด้านบนของห้องแสดง นิทรรศการนี้เปิดโอกาสให้ผู้ชมเข้ามามีส่วนร่วมหรือผู้ชมเป็นส่วนหนึ่งของผลงาน การเคลื่อนไหวของร่างกายและทิศทางการเคลื่อนที่ของผู้ชมงาน แปรผันไปตามขนาดของช่องทางเดินที่กว้างแคบต่างกัน ผู้ชมงานต้องเดินอย่างระมัดระวังและมีสติในการเดินไปตามช่องทางเดินต่างๆในห้องนิทรรศการ คล้ายกับการทำสมาธิในช่วงเวลาสั้นๆ

๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
back

Concept of 'Off the Frame', Hof Art Gallery


Five windows of the gallery have been painted with black enamel paint,
create an optical illusion as the window frames was pull apart and folded up.
The original window frames were still on the site, but the enamel striped painted
onto the windows challenge the viewer’s perception and confuse them with two
and three dimensions perspective.


Arts, On Show: Highlight / The Nation Newspaper 29 November 2007

Framing Imaginary Spaces, review of 'Off the Frame' exhibition

interviewed by Melanie-Lou Gritzka-del Villar, article by Andreas Klempin.

Jedsada Tangtrakulwong returned to Bangkok in August 2006, after receiving his Masters from the Slade School of Fine Art, a branch of the University of London. Previously, he had studied at the San Francisco Art Institute, from which he graduated with a Bachelors in Fine Art in 1999. After all those years overseas, Jedsada hopes to import new perspectives and expand on the traditional possibilities of art production, as well as share his experiences with fellow artists who perhaps haven’t had the same opportunities. He currently teaches painting as part of the Faculty of Fine and Applied Arts at the Mahasarakham University. Having come across many interdisciplinary art practices abroad, the artist hopes to broaden the locally defined fine art categories of sculpture, painting and printmaking, into more permeable and multidisciplinary areas.

The work of Jedsada has undergone various changes along the course of his career. From his initial interest in photography, the artist switched to painting. When his tutors suggested he use bigger canvases, Jedsada realised he could no longer afford painting on conventional surfaces. The solution was to attempt wall paintings. This was when the aesthetic of pipes, holes, beams and other architectural elements of a building really came to his attention, which triggered his exploration of spatial and interspatial possibilities.

Jedsada Tangtrakulwong is having his first solo exhibition in Bangkok since 2000, entitled Off the Frame, at Hof Art Gallery during the month of June. It consists of several site specific pieces that explore the physical space of the gallery. The artist explains that he saw the site and the space as a challenge, because of its architectural characteristics, especially since his work is site specific. He needs visual stimuli to set off an idea and prefers to work from an existing platform, such as the structural design of a building, in contrast to starting from a blank canvas. To begin with, Jedsada tried to produce the piece in colour, however, this came across as too decorative and in addition, the back frame was too pronounced against the colourful mesh. “At that point I was stuck.” Jedsada admits, “and I went through the entire colour palette looking for the adequate hue”. Finally, the artist settled for black.

The work consists of a series of enamel stripes painted onto the windows, the window frames and the actual walls of the gallery, in such a way as to integrally alter the perceived structural features of the gallery. His jagged stripes open up the contrived spaces between window frames and criss-cross the square panels of the ceiling above the viewer’s gaze, creating illusionary spatial features that make the work appear as though it were comprised of three-dimensional elements integrated into the already existing space. This artwork challenges the viewer’s perceptions of structures which are often given too little attention and are therefore taken for granted.

The artist usually only works with one or two assistants, however, this time he included a team of six student assistants. Jedsada initially produced sketches for the pieces and his students then set up the physical work as a group on-site. The experience involved a great degree of compro-mise, negotiation and brainstorming, but he saw it as a positive experience.The opening of the exhibition took place on Friday, 8th of June. Jedsada muses that the initial reaction of the viewers was that of bewilderment: “Where is the work?” many would ask. Some people passed through the exhibition without even noticing the work, which only revealed itself after closer examination of the gallery features. Those who noticed, in a sense discovered the work when confronted with it quite suddenly. “I enjoyed that part of the exhibition the most,” Jedsada reminisces, “that moment of surprise when the viewer actually becomes aware of the pieces”.

- Thailand Art & Design Guide - Art News July/August 07

back

Concept of 'Exhale - Inhale'


I carried a small work (made from paper and wood) for the group exhibition “MFA International” from London to Crete, Greece for participating a residency program. On the day that I left Crete to Isarael, Hezbollah fighters fired a Raad rocket into Israeli border. The officers at immigration border, Ben Gurion International Airport investigated me and examined my artwork very seriously. The work went through x-ray examination twice, completed work and a half divided. Consequently, they let me carry the artwork into the city centre. 


When I arrived at the exhibition space, Ben Gurion Airport Terminal 1, there is only a small-scale wall next to a ventilation available to make use of. The other walls have been already reserved by fellow artists from the Slade as they arrived to the exhibition space the day before. I decided to work with the ventilation and left the work that I carried with me behind.


The fixed-blade of utility vent is painted with blue and green enamel paint. The title of the works refers to the vent’s function, allow air movement. The vent is painted to be look like a minimalist painting, but some local viewers see it as the symbol of Israeli-Palestinian conflict on the issue of boundary as the paints on the vent cover resemble the color of the two countries flags (blue and white - green and white). The work is mostly missed by viewers. However, when the piece is discovered, the mixing between delight and surprise could be viewed on the viewer’s facial expression. 
back

Concept of 'Invisibility'


This is my first work that concerns with the space or my first piece
of site-specific installation. The image of chicken wire or poultry netting
on the ortho-litho film creates an illusion as the window has been protected
by the poultry netting. The work can be viewed from both sides, looking at the
street through the window, or look inside the building from the street.

As the chicken wire layers with the window could be seen
at the other windows of this building, the work is either hit or miss,
discovered or invisible piece.

back

ประวัติ

เ จ ษ ฎ า ตั้ ง ต ร ะ กู ล ว ง ศ์

การศึกษา
๒๕๔๗ – ๒๕๔๙ ศิลปมหาบัณฑิต (ดีเด่น) โรงเรียนศิลปะสเลท มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน สหราชอาณาจักร
๒๕๓๙ – ๒๕๔๒ ศิลปบัณฑิต สถาบันศิลปะซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา

นิทรรศการเดี่ยว 
๒๕๖๕  อยู่อย่างที่เป็น เห็นตามที่ปรากฎ Blind Space Bangkok กรุงเทพฯ
๒๕๖๓  #ที่แล้วก็แล้วไป แกลเลอรี่ ซีสเคป เชียงใหม่
๒๕๖๒  อย่ารอให้ถึงพรุ่งนี้ แกลเลอรี่ เวอร์ กรุงเทพฯ
          ทนได้ทนไป คาร์เทล อาร์ตสเปซ กรุงเทพฯ
          ในความคลุมเครือและคลาดเคลื่อน โนวา คอนเทมโพรารี กรุงเทพฯ
๒๕๖๐  อาทิตย์ดับ เฮชแกลเลอรี่ กรุงเทพฯ
๒๕๕๙  ปรับ ลา แชมแบร บลองช์ เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา
๒๕๕๘  ผ่าน WTF แกลเลอรี่ กรุงเทพฯ
          รั้ง แกลเลอรี่ซีสเคป เชียงใหม่
๒๕๕๗ เหวี่ยง หอศิลป์ตาดูไทยยานยนตร์ กรุงเทพฯ
          สลาย เอชแกลเลอรี่เชียงใหม่ เชียงใหม่
๒๕๕๖  ล้มทั้งยืน หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ กรุงเทพฯ
๒๕๕๕  เลาะ หอศิลป์จามจุรี กรุงเทพฯ
๒๕๕๔  บิด เอช โปรเจ็ค สเปซ เฮชแกลเลอรี่ กรุงเทพฯ
๒๕๕๓  รับรู้-ละเลย หอศิลป์วิทยนิทรรศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ
๒๕๕๒  ตั้งและล้ม คุนสด็อก โปรเจ็ค สเปซ คุนสด็อกแกลเลอรี่ กรุงโซล ประเทศเกาหลี
๒๕๕๐  ช่อง หอศิลป์ตาดู กรุงเทพฯ
          หลุดกรอบ ฮอฟ อาร์ท แกลเลอรี่ กรุงเทพฯ
๒๕๔๙  องค์ประกอบกับหน้าต่างทรงโค้ง บริษัทสถาปนิกออลซ็อป เมืองลอนดอน สหราชอาณาจักร
๒๕๔๓  ปราศจาก แกลเลอรี่ ๒๕๓ กรุงเทพฯ

นิทรรศการคู่
๒๕๖๗
บ้านเปลือยหลังคา โนวา คอนเทมโพรารี กรุงเทพ
๒๕๕๗
Walking A Tightrope ถังแกลเลอรี่ กรุงเทพฯ

นิทรรศการกลุ่ม
๒๕๖๖
ทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรม ศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ ๒๒ หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพ
เทอร์ราฟอร์มเมชั่น พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม เชียงใหม่

๒๕๖๕
IN LOW QUALITY FILE เดอะบับเบิ้ลอาร์ตกรุ๊ปสเปซ จ.เชียงใหม่

๒๕๖๔
เมืองเปลี่ยนแปลง: กรุงเทพเปลี่ยนแปลง หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร กรุงเทพฯ
/Pandamicship_on_AIR แกลเลอรี่ Fish Art Center เมืองไทเป ประเทศไต้หวัน
Pandamicship--A Social Guide to Post-Quarantine Era แกลเลอรี่ Fotoaura Institute of Photography เมืองไถหนาน ประเทศไต้หวัน
Art For Air (ศิลปะเพื่อลมหายใจ) : ลมหายใจเดียวกัน สวนสาธารณะหนองบวกหาด วัดพระธาตุดอยคำ และ วัดอุโมงค์(สวนพุทธธรรม) เชียงใหม่

๒๕๖๒
พาราลเรล เดอะ รามสูร สเตชั่น อาร์ต เทรล พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ค่ายรามสูร อุดรธานี

๒๕๖๑
แผลบ แผลบ 10 Year Anniversary Gallery Seescape แกลเลอรี่ซีสเคป เชียงใหม่
งานแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Krabi 2018 สุดขอบฟ้าแห่งดินแดนมหัศจรรย์ จ.กระบี่
เทศกาลศิลปะ Painnale 2018 : Lost Map อาคาร The Plaza จ.เชียงใหม่
เทศกาลศิลปะขอนแก่นแม่นอีหลี: เหลี่ยม มาบ มาบ #1 ศิลปะชุมชน ผู้คนมีส่วนร่วม อาคาร GF จ.ขอนแก่น
สนามภาพ River City Bangkok กรุงเทพฯ
Ties of History: Art in Southeast Asia พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิแทน กรุงมะนิลา หอศิลป์ยูเช็งโก้ และหอศิลป์วาร์กัสของมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
ฝากไว้ในแผ่นดิน ๑๔๐  ปี บี.กริม หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร กรุงเทพฯ

๒๕๖๐
Monologue Dialogue 4 : Mysticism and Insecurity คอพเพล โปรเจ็ค เบเกอร์ สตรีท เมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ
Twenty Foot Equivalent Unit โปรเจ็ค สเปซ Gasthof Worringer Platz เมืองดุสเซลดอร์ฟ ประเทศเยอรมนี

๒๕๕๙
Farewell : The Art Center's Acknowledgments 2016 หอศิลปวิทยนิทรรศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ
New Originals: เทศกาลออกแบบเชียงใหม่ 2016 วัดดวงดี อำเภอเมือง จ.เชียงใหม่
Continuum: Acculturating หอศิลปวิทยนิทรรศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ
Micro City Lab อินดี้อาร์ตฮอลล์ GONG และอาร์โก้อาร์ตเซ็นเตอร์ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้
Pre-Micro City Lab : 2016 Nanji Art Show IV แกลเลอรี่นันจิ-พิพิธภัณฑ์ศิลปะโซล 1 กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้
Incheon Art Platform Final Report Exhibition อาคารบี อินชอน อาร์ต แพลตฟอร์ม เมืองอินชอน ประเทศเกาหลีใต้
ปกติศิลป์ ๒: ทอยบุรี ร้านสำราญเกษา อำเภอเมือง จ.ราชบุรี

๒๕๕๘ 
ระยะห่างระหว่างทางเดิน หอศิลป์ร่วมสมัยเมืองคอน อุทยานการเรียนรู้ เมืองนครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช
ระยะห่างระหว่างทางเดิน ๒ Surface Arts Sluice 2015 บาร์จเฮ้าส์ ออกโซทาวเวอร์ เซาท์แบงค์ เมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ
Beyond Walled Enclosure: the 9th Taehwa River Eco Art Festival สวนสาธารณะแทวากังเมืองอุลซาน ประเทศเกาหลีใต้
Non Parallel Evolution of Two Beings Who Have Nothing Whatsoever To Do With Each Other อินชอน อาร์ต แพลตฟอร์ม และ Tribowl ซองโด เมืองอินชอน ประเทศเกาหลีใต้
ซีเคร็ท อาคิเพลาโก ปาเล เดอ โตเกียว เมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส
ระยะห่างระหว่างทางเดิน หอศิลป์ตาดูไทยยานยนตร์ กรุงเทพฯ
ความจริง ห้องนิทรรศการ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
อาร์ต สเตจ สิงคโปร์ เวทีภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มารีน่า เบย์ แซนด์ส เอ็กซ์โปและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ประเทศสิงคโปร์

๒๕๕๗ 
Growth: Behind The Scenes เทรชเชอร์ฮิลล์ อาร์ตทิสต์ วิลเลจ เมืองไทเป ประเทศไต้หวัน
Monologue Dialogue 3 Fragility and Monumentality หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร กรุงเทพฯ
โฮเต็ลอาร์ตแฟร์ สองศูนย์หนึ่งสี่ เอชแกลเลอรี่ โรงแรมลักซ์ เอ็กซ์แอล หลังสวน กรุงเทพฯ
เทศกาลศิลปะนานาชาติคาลา สามันนายยา ชิลพแกรมคอมเพล็กซ์ เมืองคูวาหตี รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย

๒๕๕๖
Nave ๑๓  ศูนย์สร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย เมืองกาดิซ ประเทศสเปน
ทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรม ศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ ๑๒ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพฯ
สภาวะที่ไร้ซึ่งการดำรงอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง หอศิลป์วิทยนิทรรศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ
ริเวอร์สเคปส์ อิน ฟลัคซ์  พิพิธภัณฑ์เมโทรโพลิแทน กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
ริเวอร์สเคปส์ อิน ฟลัคซ์ มูลนิธิ Langgeng  เมืองยอกยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
หัวกะทิ แกลเลอรี่โรงเรียนศิลปะอาร์เอ็มไอที มหาวิทยาลัยอาร์เอ็มไอที และจตุรัสเฟเดอเรชั่น เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย
So Many Minds II หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่

๒๕๕๕  
Mobility and Identity นิทรรศการวัฒนธรรมใหม่ครั้งที่ ๑ องค์กรอาร์ตอินโพรเกส ตลาดอากีริ เมืองพาทราส ประเทศกรีซ
ริเวอร์สเคปส์ อิน ฟลัคซ์ พิพิธภัณฑ์ศิลปกรรม เมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม
ริเวอร์สเคปส์ อิน ฟลัคซ์ หอศิลป์แคคตัส โฮจิมินห์ซิตี้ ประเทศเวียดนาม
ริเวอร์สเคปส์ อิน ฟลัคซ์ แกลเลอรี่ g23 กรุงเทพ
On Paper หอศิลป์สนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จ.นครปฐม

๒๕๕๔
เสียงของฝุ่น สตูดิโอ ๙๔๓ เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
เทศกาลศิลปะอินสตอลเลชั่นครั้งที่ ๑ เมืองโบราณฉู่สง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน

๒๕๕๓
โครงการดินแดนในอุดมคติ ๒๐๐๖-๒๐๑๐ สถาบันศิลปะร่วมสมัยกรีก เมืองเอเธนส์ ประเทศกรีซ
โครงการไร้พรมแดน น่านน้ำทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ประเทศไซปรัส และ อิสราเอล
มหาวิทยาลัยเมดิเตอร์เรเนียน เทศกาลเยาวชนนานาชาติ เมืองอันตัลยา สาธารณรัฐตุรกี
Salon für Kunstbuch ผลงานศิลปะในลักษณะของบริษัท พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยไลพ์ซิก ประเทศเยอรมนี

๒๕๕๒
Emerging Talents บาชิมิอาร์ตเฮ้าส์ เมืองซาลซ์บูร์ก ประเทศออสเตรีย
เหนือกฎเกณฑ์ ด็อควองแกลเลอรี่ กรุงโซล ประเทศเกาหลี

๒๕๕๑
กรุงเทพ ๒๒๖: ศิลปะจากยุคสร้างบ้านแปงเมืองสู่กรุงเทพในฝัน หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร กรุงเทพฯ
ผู้แสวงหากับศิลปะร่วมสมัย หอศิลปกรรมศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หอศิลป์ตาดู ฮอฟ อาร์ท แกลเลอรี่ กรุงเทพฯ

๒๕๕๐
อาร์ตฟอร์ไลฟ โถงนิทรรศการ ห้างสรรพสินค้าเซน กรุงเทพฯ
ศิลปนามธรรม หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่

๒๕๔๙
ยินดีที่จะเผยแพร่ – ปริญญาโทศิลปกรรมนานาชาติ สนามบินเบงกูเลี่ยน อาคาร ๑ เมืองเทลลาวีบ ประเทศอิสราเอล
ยูโทเปีย โรงเรียนศิลปะเอเธนส์ เมืองริทิมโน ประเทศกรีซ
แสงและสี ศุนย์วิจัยโวเบิ้นสแควร์ เมืองลอนดอน สหราชอาณาจักร

๒๕๔๘
เดอะสเลท คณะสถาปัตยกรรม ภาควิชาสถาปัตยกรรมและวางแผนภาคและเมือง มหาวิทยาลัยเวสมินสเตอร์ เมืองลอนดอน                 สหราชอาณาจักร

๒๕๔๗
กลุ่มอิเจคชั่น ๔ อุทยานศิลปะและวัฒนธรรมเชียงใหม่ (อนุสาวรีย์สามกษัตริย์) จ.เชียงใหม่

๒๕๔๕
ทุกชีวิตเท่าเทียมกัน กลุ่มอิเจคชั่น แกลเลอรี่กาดสวนแก้ว จ.เชียงใหม่

๒๕๔๔
มุมมองเอเชียตะวันออกเชียงใต้ เมืองบริสเบน สโมสรฮิตาชิอเมริกา สำนักงานใหญ่ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

๒๕๔๒
ซิสสาว่า แกลเลอรี่ดิเอโก้ ริเวรา เมืองซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา
ปฏิรูป-สัตว์ต่างๆในงานศิลปะร่วมสมัย พิพิธภัณฑ์ศิลปะและประวัติศาสตร์ เมืองซานตาครู๊ซ สหรัฐอเมริกา

๒๕๔๑  
สิบเอ็ด ศูนย์โทรทัศน์แห่งทางเลือกใหม่ เมืองซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา

โครงการและเวิร์คช็อป
๒๕๖๖
- อยู่ร่วมกันและราวกับบ้าน เวิร์คข็อปกับศิษย์เก่าและนักศึกษาชั้นปีสองถึงปีสี่ สถาบันวิจิตรศิลป์แห่งชาติลาว 
ปันฮักฟาร์ม เมืองสังข์ทอง และ สะเต่วล้า กรุงเวียงจันทน์ สปป.ลาว จัดโดย Elevation Laos และ สะเต่วล้า
๒๕๖๕
- ย่างก้าวและสะกดรอย เวิร์คข็อปกับศิษย์เก่าและนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย สถาบันวิจิตรศิลป์แห่งชาติลาว Chiang Mai Art Conversation จ.เชียงใหม่ จัดโดย Elevation Laos และ สะเต่วล้า
๒๕๖๒
-- เส้นแบ่งเขตแดน กลุ่มศิลปะร่วมสมัย โครงการ ASEAN Research Workshop ครั้งที่ 5 : Asean Crossroad ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.แม่สอด จ.ตาก
๒๕๕๘
-- การเข้ารหัสและถอดรหัส งานอินสตอลเลชั่นแบบเจาะจงพื้นที่  สัมมนาเชิงปฏิบัติการกับนักเรียนเกาหลีระดับมัธยมศึกษา อินชอน อาร์ต แพลตฟอร์ม เมืองอินชอน ประเทศเกาหลีใต้
๒๕๕๗
-- ห้าหิ้ง งานอินสตอลเลชั่นแบบเจาะจงพื้นที่ สัมมนาเชิงปฏิบัติการกับเด็กอายุ ๑๒-๑๗ ปี นิทรรศการ Monologue Dialogue 3 Fragility and Monumentality หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร กรุงเทพฯ
-- อาร์เอ็มไอที-สามเอซีพี อาร์เอ็มไอที แฟ้มข้อมูลการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัยออสเตรเลียและเอเชีย แกลเลอรี่โรงเรียนศิลปะอาร์เอ็มไอที มหาวิทยาลัยอาร์เอ็มไอที เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย
 http://schoolofartgalleries.dsc.rmit.edu.au/Projects/2014/tangtrakulwong.html
-- ฉันชอบรถติด คอมดีโอเพ่นสตูดิโอ ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ หลักสูตรนานาชาติ     จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ
-- กาดิช ในวาระครบรอบหนึ่งปี ลีเนีย เด คอสต้า ศูนย์สร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย เมืองกาดิซ ประเทศสเปน http://vimeo.com/85914111
-- สภาวะที่ไร้ซึ่งการดำรงอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง โดยคามิน เลิศชัยประเสริฐ ร่วมด้วยนักวัฒนธรรมและศิลปินรุ่นใหม่ เวทีภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาร์ท สเตจ สิงคโปร์ ประเทศสิงค์โปร
-- วาดเส้น สัมมนาเชิงปฏิบัติการกับเด็กอินเดีย ค่ายศิลปะและเทศกาลศิลปะคาลา สามันนายยา ชิลพแกรมคอมเพล็กซ์ เมืองคูวาหตี รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย
๒๕๕๖
-- สร้างรัง สัมมนาเชิงปฏิบัติการกับเด็กสเปน ลีเนีย เด คอสต้า เมืองกาดิซ ประเทศสเปน
-- สวนชุมชน สัมมนาเชิงปฏิบัติการกับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาและนักศึกษา หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ กรุงเทพฯ
-- สภาวะที่ไร้ซึ่งการดำรงอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง โดยคามิน เลิศชัยประเสริฐ ร่วมด้วยนักวัฒนธรรมและศิลปินรุ่นใหม่ หอศิลป์วิทยนิทรรศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ
๒๕๕๓
-- อาร์ตสกูล ยูเค และผู้สังเกตการณ์ แกลเลอรี่ ไวท์ชาเพล เมืองลอนดอน สหราชอาณาจักร
-- อาร์ตสกูล ยูเค เซลล์ โปรเจ็ค สเปซ เมืองลอนดอน สหราชอาณาจักร
๒๕๕๒
-- โครงการสแตนดิ่ง บาย ซีโร่ซีโร่ สัมมนาเชิงปฏิบัติการกับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาและนักศึกษาเกาหลี ระยะเวลาหนึ่งเดือน        แกลเลอรี่ลูป และมิซซี่เซ็นเตอร์ กรุงโซล ประเทศเกาหลี

รางวัล ทุนสร้างสรรค์
๒๕๖๕  ทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรม ศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ ๒๒ ประจำปี ๒๕๖๕ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
๒๕๕๕  ทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรม ศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ ๑๒ ประจำปี ๒๕๕๕ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
๒๕๕๒  ทุนสำหรับศิลปินภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สตูดิโอศิลปะแห่งชาติ เมืองโกยาง พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วม
          สมัยแห่งชาติ ประเทศเกาหลี

ผลงานสะสม
พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม เชียงใหม่
หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพฯ
วัดดวงดี จ.เชียงใหม่
สตูดิโอ ๙๔๓ เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
องค์กรการท่องเที่ยวและธุรกิจพาณิชย์ เมืองโบราณฉู่สง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
ฮอฟ อาร์ท แกลเลอรี่ กรุงเทพฯ
โรงเรียนศิลปะเอเธนส์ เมืองริทิมโน ประเทศกรีซ
งานสะสมส่วนบุคคล

ทุนสนับสนุนโครงการ
๒๕๖๔  เหลือแต่ตอ / ฟุ้ง คลุ้ง ตลบ / ซึ่งกันและกัน - สภาลมหายใจเชียงใหม่
๒๕๖๑  มุ้งมิ้ง - สำนักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม
          พราง - บริษัท บี กริม ประเทศไทย
๒๕๖๐  มนตร์ - ทุนสำหรับเครือข่ายทั่วโลกของมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน ประเทศอังกฤษ
๒๕๕๙  ริน - ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ เชียงใหม่
          (ไม่)ปรากฎตัว - สภาศิลปะแห่งชาติ ประเทศเกาหลีใต้
          ปรับ - หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ลา แชมแบร บลองช์ สภาศิลปะแห่งชาติ ประเทศแคนาดา และ กรมสนธิสัญญา             แห่งการพัฒนาวัฒนธรรมเมืองควิเบก ประเทศแคนาดา
          หัว - ปกติศิลป์ ๒ จ.ราชบุรี
๒๕๕๘  ผ่าน - WTF แกลลอรี่ กรุงเทพฯ
          น้ำตก - เทศกาลศิลปะและสิ่งแวดล้อมแม่น้ำแทวากังครั้งที่ ๙ เมืองอุลซาน ประเทศเกาหลีใต้
          เหวี่ยง - คณะกรรมการมรดกแห่งชาติสิงคโปร์ สำหรับนิทรรศการซีเคร็ท อาคิเพลาโก
๒๕๕๗  เนิน - บริติช เคานซิล และ สำนักงานฝ่ายพัฒนาและหน่วยงานศิษย์เก่าสัมพันธ์มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน
๒๕๕๖  ล้มทั้งยืน - หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
๒๕๕๕  ลุ่มน้ำชี - สถาบันเกอเธ่ประเทศไทย
๒๕๕๔  มุม - องค์กรการท่องเที่ยวและธุรกิจการพาณิชย์ เมืองโบราณฉู่สง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
๒๕๕๑  หน่วง - หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
๒๕๕๐  รั้ว - ห้างสรรพสินค้าเซน จ.กรุงเทพ

บทความและบทวิจารณ์
· บทความ Art and Ecology : Taking Collective Action โดย S.E.A. Focus/An STPI Project ประเทศสิงคโปร์ เดือนมกราคม ๒๕๖๔
· นิตยสาร อาร์ตเอเชียแปซิฟิค คอลัมน์ศิลปะประเทศไทย ฉบับ Almanac ลำดับที่ ๑๕ เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓
· นิตยสารไฟน์อาร์ท คอลัมน์ Don't Wait Until Tomorrow ฉบับปีที่ ๑๖ เล่มที่ ๑๓๕ เดือนตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๖๒
· นิตยสาร มติชนสุดสัปดาห์ ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์: คอลัมน์ อะไร(แม่ง)ก็เป็นศิลปะ บทความ อย่ารอให้ถึงพรุ่งนี้ นิทรรศการศิละที่สำรวจคุณค่าของเวลา  ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๒๐๔๑​ ประจำวันที่ ๒๗ กันยายน - ๓ ตุลาคม ๒๕๖๒
· นิตยสารไฟน์อาร์ท คอลัมน์ The Uncertain ฉบับปีที่ ๑๖ เล่มที่ ๑๓๓ เดือนเมษายน-มิถุนายน ๒๕๖๒
· ลา แชมแบร บลองช์ บูลเลติน เมืองควิเบก บทความ Bangkok/Quebec Exchange ฉบับที่ ๓๘ ปี ๒๕๕๙ 
· เดอะ อีสานเรคคอร์ด ถนอม ชาภักดี: บทวิจารณ์การปฏิบัติการศิลปะในค่ายรามสูร จ.อุดรธานี ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๒ 
· สำนักข่าว เดอะ โมเมมตัม ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์ คอลัมน์ Art and Politics บทความ ทนได้ทนไป: นิทรรศการศิลปะที่แสดงถึงธรรมชาติแห่งความ 'อดทน' ของคน (บางประเทศ)  ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๒
· หนังสือพิมพ์ เดอะนิวยอร์กไทมส์ คอลัมน์ศิลปะ บทความ Southeast Asian Galleries Set Their Sights on Art Basel Hong Kong      ฉบับวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๒
· นิตยสารอาร์ตโฟร์ดี บทความ KHONKAEN MANIFESTO 2018 ฉบับที่ ๒๖๕ เดือนธันวาคม ๒๕๖๑ - มกราคม ๒๕๖๒
· นิตยสาร อาร์ตเอเชียแปซิฟิค คอลัมน์เมโทรมะนิลา บทความ Ties of History ฉบับที่ ๑๑๑ เดือนพฤศจิกายน/ธันวาคม ๒๕๖๑
· นิตยสาร มติชนสุดสัปดาห์ ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์ คอลัมน์ อะไร(แม่ง)ก็เป็นศิลปะ บทความ ขอนแก่นเมนิเฟสโต้ การเปิดพื้นที่ทางศิลปะอันดิบเถื่อนและทรงพลังแห่งแดนอีสาน  ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๑๙๙๓​ ประจำวันที่ ๒๖ ตุลาคม - ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
· หนังสือพิมพ์ บิสิเนสเวิร์ล คอลัมน์ Arts & Leisure บทความ ASEAN artists come together in a 3-part show ฉบับวันที่ ๑๕      สิงหาคม ๒๕๖๑
· หนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์ คอลัมน์ ไลฟ์สไตล์ Out of the darkness ฉบับวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๖๑
· นิตยสาร Wallpaper ฉบับภาษาไทย คอลัมน์ดีไซน์ / New Originals ฉบับที่ ๑๓๘ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
· นิตยสาร Elle Decoration ฉบับภาษาไทย คอลัมน์ดีไซน์ / Global Style Report : New Originals ฉบับที่ ๒๑๖ เดือนกุมภาพันธ์      ๒๕๖๐
· นิตยสาร อาร์ตเอเชียแปซิฟิค คอลัมน์ศิลปะประเทศไทย ฉบับ Almanac ลำดับที่ ๑๒ เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
· นิตยสาร Room คอลัมน์ On Air: Event เชียงใหม่ดีไซน์วีค 2016 ฉบับที่ ๑๖๗ มกราคม ๒๕๖๐
· นิตยสาร บ้านและสวน คอลัมน์จับตา : ราชบุรีกับวันพรุ่งนี้และความทรงจำ ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๔๘๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
· นิตยสาร Landscape Architecture Korea (laK) คอลัมน์ Micro City Lab ฉบับที่ ๓๔๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
· หนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์ คอลัมน์ ไลฟ์สไตล์ Examining Identity ฉบับวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
· นิตยสาร Wallpaper ฉบับภาษาไทย คอลัมน์ Intelligence ปกติศิลป์: เมื่อศิลปะเปลี่ยนเมือง ฉบับที่ ๑๒๘ เดือนเมษายน ๒๕๕๙
· หนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์ คอลัมน์ ไลฟ์สไตล์ Ratchaburi's roll of the dice ฉบับวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๙
· นิตยสารไฟน์อาร์ท คอลัมน์นิทรรศการ Distance Between The Journeys ระยะห่างระหว่างทางเดิน ฉบับปีที่  ๑๒ เล่มที่ ๑๒๒ เดือน     มิถุนายน/กรกฎาคม ๒๕๕๘
· นิตยสารพับบลิคอาร์ต เกาหลีใต้ คอลัมน์ public Art: Spatiality and Temporality of Public Art ฉบับที่ ๑๐๕ เดือนมิถุนายน ๒๕๕๘
· นิตยสารลอฟฟีเชียล ไทยแลนด์ คอลัมน์ Culture: Between The Walls ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๔๐ เดือนมิถุนายน ๒๕๕๘
· นิตยสารลอฟฟีเชียล อาร์ต ไทยแลนด์ คอลัมน์ Inside Art: Discussing A Dialogue ลำดับที่ ๓ ฉบับฤดูใบไม้ผลิ/ฤดูหนาว      ๒๕๕๗-๒๕๕๘
· นิตยสารเวิลด์สคัลปเจอร์นิวส์ คอลัมน์นิทรรศการศิลปะ Monolouge Dialogue 3 at the Bangkok Art & Cultural Center ปีที่ ๒๐      ฉบับที่ ๔ ฤดูใบไม้ร่วง ๒๕๕๗
· นิตยสารแอล ประเทศไทย คอลัมน์ศิลปะ Fun Comes in Three: Fresh Faces ฉบับที่ ๒๔๒ เดือนธันวาคม ๒๕๕๗
· นิตยสารเอเชี่ยนอาร์ตนิวส์ คอลัมน์นิทรรศการศิลปะ Monologue Dialogue 3 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ฉบับปีที่ ๒๔​      เล่มที่ ๖ เดือนพฤศจิกายน และธันวาคม ๒๕๔๗
· นิตยสารอาร์ตโฟร์ดี คอลัมน์ Views: Monologue Dialogue III: Fragility and Monumentality ฉบับที่ ๒๒๐ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๗
· The Artling บทสัมภาษณ์ไบรอัน เคอร์ทิน จากเฮชแกลเลอรี่ กรุงเทพ ลำดับที่ ๗  เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๗
· นิตยสารอาร์ตโฟร์ดี คอลัมน์นิทรรศการศิลปะเหวี่ยง E = MC2  ฉบับที่ ๒๑๙ เดือนตุลาคม ๒๕๕๗
· นิตยสารไฟน์อาร์ท คอลัมน์นิทรรศการ MD3 Fragility and Monumentality โดยรวมศิลปิน ฉบับปีที่ ๑๑ เล่มที่ ๑๑๖ เดือนสิงหาคม      ๒๕๕๗
· หนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์ คอลัมน์ ไลฟ์สไตล์ Cause and effect ฉบับวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๗
· นิตยสารไฟน์อาร์ท คอลัมน์รายงานนิทรรศการ Hotel Art Fair 2014  ฉบับปีที่ ๑๑ เล่มที่ ๑๑๕ เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๗
· หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ คอลัมน์ อาร์ต Creative Dialogue ฉบับวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๗
· นิตยสารอาร์ตโฟร์ดี คอลัมน์อัพเดท Hotel Art Fair 2014 ฉบับที่ ๒๑๕ เดือนมิถุนายน ๒๕๕๗
· นิตยสารอาร์ตเอเชียแปซิฟิค คอลัมน์ศิลปะประเทศไทย ฉบับ Almanac ลำดับที่ ๙ เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
· หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ คอลัมน์ อาร์ตรีวิว กะโหลกและการตรวจสอบโดยคำถาม ฉบับวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๖
· BLOUIN ARTINFO คอลัมน์นิทรรศการศิลปะดีที่สุดในกรุงเทพสำหรับช่วงต้นเดือนเมษายน วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๖ 
· นิตยสาร 2 คอลัมน์ ๒ ลิสต์ Art at Large แนะนำนิทรรศการศิลปะ ฉบับที่ ๗๒ เดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม ๒๕๕๖
· นิตยสารไฟน์อาร์ท คอลัมน์รายงานนิทรรศการเลาะ  ฉบับปีที่ ๙ เล่มที่ ๙๔ เดือนกันยายน ๒๕๕๕
· นิตยสารไฟน์อาร์ท คอลัมน์นิทรรศการภูมิทัศน์ของสายน้ำ ฉบับปีที่ ๙ เล่มที่ ๙๓ เดือนสิงหาคม ๒๕๕๕
· นิตยสารอาร์ตสแควรฺ์ คอลัมน์ไฮไลท์นิทรรศภูมิืทัศน์สายน้ำที่ผันแปร โครงการศิลปะนานาชาติสัญจรในภูมิภาคอาเซียน ฉบับ
ปีที่ ๒ เล่มที่ ๗ เดือนมิถุนายน ๒๕๕๕
· นิตยสาร วิชวลอาร์ตบีท คอลัมน์คอลเลกชั่นใหม่ เมืองซาลซ์บูร์ก ประเทศออสเตรีย ฉบับที่ ๙ เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม ๒๕๕๕
· นิตยสาร อาร์ตเอเชียแปซิฟิค คอลัมน์ศิลปะประเทศไทย ฉบับ Almanac ลำดับที่ ๗ เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
· นิตยสารอาร์ตโฟร์ดี คอลัมน์โฟร์ดีโซไซตี้ มองโลกอย่างปัจเจก ฉบับที่ ๑๗๑ เดือนมิถุนายน ๒๕๕๓
· นิตยสารแฮพเพ็นนิ่ง คอลัมน์ผู้นำเสนอ ระหว่างพื้นที่ และรับรู้-ละเลย ฉบับที่ ๓๙ เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๓
· นิตยสารวิชวลอาร์ตบีท คอลัมน์สมาธิในการเดินและปริศนาในตัวต่อ เมืองซาลซ์บูร์ก ประเทศออสเตรีย ฉบับที่ ๔ เดือนมีนาคม ๒๕๕๓
· นิตยสารมิสซุยเซเงียง นิตยสารศิลปะรายเดือน ประเทศเกาหลี คอลัมน์ โปรเจ็ค สแตนดิ่ง บาย ซีโร่ซีโร่ซีโร่ ๒๐๐๙ ฉบับที่ ๒๙๘ เดือนกันยายน ๒๕๕๒
· นิตยสารไฟน์อาร์ท คอลัมน์รายงานนิทรรศการศิลปะ กรุงเทพ ๒๒๖: ศิลปะจากยุคสร้างบ้านแปงเมืองสู่กรุงเทพในฝัน
ปีที่ ๕ เล่มที่ ๕๒ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
· นิตยสารอะเดย์ คอลัมน์ ติ้งโพสิทีฟ: พลีสลีฟอะพาสเสจ นิทรรศการ ช่อง ฉบับปีที่ ๘ ฉบับที่ ๙๐ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
· หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ คอลัมน์ เอาท์ลุค: รีวิว ทางเดินเข้าไปในผลงานมินิมอล ฉบับวันที่ ๖ เดือนธันวาคม ๒๕๕๐
· นิตยสารอารต์โฟร์ดี คอลัมน์ โฟร์ดีวิวส์ นิทรรศการหลุดกรอบ ฉบับที่ ๑๔๐ เดือนสิงหาคม ๒๕๕๐
· นิตยสารไฟน์อาร์ท รายงานข่าวนิทรรศการศิลปะ นิทรรศการหลุดกรอบ ปีที่ ๔ เล่มที่ ๓๔ เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๐
· นิตยสารแนะนำงานศิลปะและดีไซน์ในประเทศไทย (ทีเอแอนด์ดีจี) บทความ กรอบในพื้นที่จินตนาการ
ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม/สิงหาคม ๒๕๕๐
· หนังสือพิมพ์ศิลปะ ฉบับนานาชาติ บทความ ทัศนคตินักศึกษา ในหัวข้อศิลปินที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในสหราชอาณาจักร เล่มที่ ๑๕ ฉบับที่ ๑๗๐ มิถุนายน ๒๕๔๙ เมืองลอนดอน สหราชอาณาจักร
· นิตยสารแอนี่แวร์ ภาพถ่ายคอลัมน์ สป็อตไล้ท์ ฉบับที่ ๑ เดือนสิงหาคม ๒๕๔๕
· นิตยสารอารต์โฟร์ดี คอลัมน์ มนุษย์ ฉบับที่ ๗๑ เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๔
· นิตยสารอารต์โฟร์ดี คอลัมน์ แฟ้มผลงาน ฉบับที่ ๓ เดือนมิถุนายน ๒๕๔๓
· วารสารซิสสาว่า วารสารสำหรับนักเขียนและศิลปินฝั่งตะวันตก ฉบับที่ ๑๕ ฤดูใบไม้ผลิ ๒๕๔๒
· หนังสือพิมพ์ซานตาครูซ เซนติเนล คอลัมน์สปอร์ตไลท์ สัญชาตญาณสัตว์ ฉบับวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๔๒
back

artist statement



Since 2005, site-specific installation has become the main focus of my work. Most of my installations integrate with the architectural structures in the space, thus encouraging viewers to start noticing the unique qualities of architectural features and to initiate them in exploring and appreciating the beauty of architectural details in other buildings. 

Many of my works are about creating new space, changing the space from what it was into something unfamiliar. I am creating a new experience for the viewers to be part of; walking up a sloped staircase, walking in a small alley that's like a maze or ducking under a tunnel, pushing and smashing objects, touching and moving, walking on a glass carpet, walking in the dark - all these are the direct experience that the viewer can only understand if they interact with it themselves. It is something that cannot be articulated via pictures.

In the process of making and installing the works, I usually worked with a team. I collaborated with artists, writers, engineers, fishermen, contractors, architects, barber, part-time workers, university and high school students. My works are changed and shaped by a group of people whom I have collaborated with. In some of my installations, viewers have become an essential part of the installation.

For a three-year period (2011-2013), my installations had been influenced by the local tradition and culture in Isan or Northeastern Thailand where I'd been living and working for eight years. The Remove Series (2012) reflects the knowledge and experience gained from living and working in Maha Sarakham province. Spirit Under The Chi River (2013) and Chi River (2012) are based on a 21-month research project covering the fishermen's way of life and the fishing-related culture in twelve villages near the Chi River, Maha Sarakham Province. Downfall (2013) was initially inspired by my impression of big trees with unusual forms that I'd found in Roi Et and Maha Sarakham provinces from November 2010 to January 2013.

Since 2014 to 2017, I've started working with the concept of the three R's: Reduce, Reuse and Recycle. Most of the installations, such as Swing (2014,2015) are made from recycled materials that are found on the location. Buried Alive (2015) contains small coffin-like sculptures made from aluminum wire and recycled plastic bags that I've been collecting since 2006. Traverse (2015) is about using materials which are recycled from my earlier art pieces such as Gradual (2008) and Shatter (2014).

In 2019, all projects have some transformative and unpredictable components. There are four different types of presentations in "The Uncertain" that depends on the daily Bangkok's weather condition - cloudy, sunny, partly cloudy or shower. In addition, as time passes, the sculptures are growing little by little like how tree grow. In the work titled, "How Much You Can Tolerate" the handwritten text about the air pollution in Chiang Mai on the gallery floor is erased and edited by viewers' footsteps. The photographic prints are fading and integrating with the surroundings could be observed from the "Local Influence Series". A thief initiates the creation of the work, "Late Arrival".



แนวคิดในการทำงาน

เวลาเดินเข้าไปในห้องใดห้องหนึ่ง กี่ครั้งที่เราแหงนมองดูเพดานของห้องนั้น กี่ครั้งที่เราสังเกตว่าในห้องนั้นมีเสาทั้งหมดกี่ต้น หรือมีจำนวนมุมห้องทั้งหมดกี่มุม ห้องในแต่ละสถานที่ต่างมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว เมื่อใดก็ตามที่ผมเข้าไปในห้องหรืออาคารที่เคยเข้าเป็นครั้งแรก ผมจะสนุกกับการกวาดสายตาสำรวจงานออกแบบโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมภายในห้องหรืออาคารนั้น ผมค้นหาส่วนประกอบของโครงสร้างที่ทำให้ห้องหรือตึกนั้นมีลักษณะแตกต่างไปจากสถานที่อื่น โครงสร้างส่วนที่เป็นลักษณะพิเศษนี้ได้กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในแต่ละพื้นที่


ผลงานของผมหลายชิ้นเป็นเรื่องของการสร้างพื้นที่ขึ้นมาใหม่ การเปลี่ยนความคุ้นชินของพื้นที่ห้องนิทรรศการ การสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้คนดูได้เข้ามามีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นการเดินขึ้นบนขั้นบันไดที่สูง การเดินในช่องทางเดินคล้ายเขาวงกต การมุดลอด การเหวี่ยงหรือกระแทกวัตถุ การจับและพลิกดู การเดินบนพรมแก้ว การเดินในที่มืด ประสบการณ์เหล่านี้เป็นประสบการณ์ตรง ที่คนดูจะต้องมาสัมผัสหรือรู้สึกด้วยตัวเอง เป็นสิ่งที่ไม่สามารถถ่ายทอดผ่านทางภาพถ่ายได้


ในกระบวนการสร้างสรรค์และติดตั้งผลงาน ผมมักจะทำงานในลักษณะเป็นทีม ผมสร้างสรรค์ผลงานร่วมกับผู้คนจากหลายหลายอาชีพ เช่น ศิลปิน นักเขียน วิศวกร คนหาปลา ช่างรับเหมา สถาปนิกก่อสร้าง ช่างตัดผม คนงานรับจ้างรายวัน นิสิตนักศึกษา และนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ผลงานของผมมีการปรับเปลี่ยนหรือผันแปรไปตามผู้คนที่ผมได้ร่วมงานด้วย ในผลงานอินสตอลเลชั่นหลายๆชิ้น คนดูเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของชิ้นงาน 

ในช่วงปีพ.ศ. ๒๕๕๔​ ถึง พ.ศ. ๒๕๕๗ ผลงานอินสตอลเลชั่นที่ผมสร้างสรรค์ ได้รับแรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมและประเพณีของอีสาน ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ผมได้ใช้ชีวิตและทำงานเป็นระยะเวลาแปดปี ผลงานชุด เลาะ พ.ศ. ๒๕๕๕ สะท้อนให้เห็นถึงความรู้และประสบการณ์ ที่ได้รับจากการใช้ชีวิตในจังหวัดมหาสารคาม ผลงานชุด พลังชีวิตใต้ลุ่มน้ำชี พ.ศ. ๒๕๕๖ และผลงาน แม่น้ำชี พ.ศ. ๒๕๕๕ เกิดจากการทำวิจัยเป็นเวลา ๒๑ เดือน รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนหาปลา และวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับปลาในหมู่บ้ายจำนวน ๑๒ หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในบริเวณติดกับแม่น้ำชี จังหวัดมหาสารคาม ผลงาน ล้มทั้งยืน พ.ศ. ๒๕๕๖  ได้รับแรงบันดาลใจเบื้องต้นจากความประทับใจในรูปทรงที่แปลกของต้นไม้ใหญ่ ที่ผมได้พบในจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดมหาสารคาม ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๒ ถึงเดือนธันวาคม ๒๕๕๕

ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ จนถึงปี ๒๕๖๐ ผมเริ่มสร้างสรรค์โดยใช้แนวคิด3R ได้แก่ การลดปริมาณ การนำกลับมาใช้ใหม่และการรีไซเคิล ผลงาน เหวี่ยง พ.ศ. ๒๕๕๗ และ ๒๕๕๘ สร้างขึ้นจากวัสดุเหลือใช้ที่พบในพื้นที่ของสถานที่ที่จัดแสดงนิทรรศการ ผลงาน ฝังทั้งเป็น พ.ศ. ๒๕๕๘  เป็นประติมากรรมขนาดเล็กรูปทรงคล้ายโลงศพ สร้างขึ้นจากลวดอลูมิเนียมและถุงพลาสติกที่นำกลับมาใช้ใหม่ ถุงพลาสติกเหล่านี้ผมได้เก็บสะสมมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ และผลงาน ผ่าน พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้นำวัสดุจากผลงาน หน่วง พ.ศ. ๒๕๕๑ และผลงาน สลาย พ.ศ. ๒๕๕๗ มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน


ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ การเปลี่ยนรูปและการไม่สามารถคาดเดา ได้ถูกนำมาเป็นองค์ประกอบของแนวคิดในผลงานทุกโครงการ เช่น รูปแบบงานที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพอากาศในแต่ละวันของกรุงเทพ ในความคลุมเครือและคลาดเคลื่อน คือ วันที่มีเมฆมาก วันที่แดดออกเป็นส่วนมาก วันที่มีเมฆเป็นบางส่วน และ วันที่มีฝนฟ้าคะนอง และงานประติมากรรมที่ค่อยๆเติบโตขึ้นเรื่อยๆคล้ายกับต้นไม้ ผลงาน ทนได้ทนไป คนดูจะเป็นผู้ที่ตัดต่อเนื้อหาของงานเขียนในผลงาน งานเขียนด้วยลายมือบนพื้นแกลเลอรี่เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศในเชียงใหม่ จะถูกลบจากการเดินของคนดู สีสันในผลงานชุด ท้องถิ่นนิยม ซึ่งเป็นงานภาพถ่าย จะค่อยๆซีดลงและค่อยๆกลืนไปกับผนังของห้องนิทรรศการ ผลงาน มาทีหลัง ในนิทรรศการชื่อว่า อย่ารอให้ถึงพรุ่งนี้ คนดูที่ขโมยผลงานเป็นต้นกำเนิดของผลงาน เขาหรือเธอได้กลายมาเป็นผลงาน

_________________________________________________________________________________


sITE-sPECIFIC iNSTALLATION - Making Each Space Unique

Most of the installations originate from its exhibition spaces. Each space is being slowly explored and observed in various aspects: architectural design, history, geography, ecology, local community, literature, etc. All the data collection are being used as sources to formulate ideas; this process could take days, months or a year. The selection of materials and mediums come after the chosen idea, and sometimes it is the other way round. In favor of learning new skills, fellow artists and professional technicians are engaged. The hardest part is probably the installation period as the time is limited, the team is exhausted and the new problems constantly occur.

Every now and then, the starting point derives from the exhibition concept, particularly group exhibitions in which curators are in charge. In this fashion, there is no strict rule of working practices. In the same way, site-specific installation is not meant to be a signature style, but a long journey in specific areas. Most of the installations disappeared after the exhibitions.

12 March 2020, Chiang Mai

































อินสตอลเลชั่นแบบเจาะจงพื้นที่ - เมื่อพื้นที่เป็นโจทย์ แต่บางครั้งพื้นที่ก็เป็นรอง


ด้วยความสนใจที่จะมองหาเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละพื้นที่ จึงมักจะใช้พื้นที่เป็นโจทย์ตั้งต้นก่อน และใช้เวลาค่อยๆสำรวจและสังเกตพื้นที่ในแง่มุมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ พฤกษศาสตร์ ชุมชนท้องถิ่น วรรณกรรม ฯลฯ เพื่อเรียนรู้และนำข้อมูลที่รวบรวมมาจากแหล่งต่างๆ มาพินิจพิเคราะห์ จนเกิดเป็นไอเดีย ซึ่งกว่าจะได้ไอเดียในการทำงาน ใช้เวลาเร็วบ้าง ช้าบ้าง ก่อนที่จะเลือกไอเดียที่ตนเองสนใจที่สุด มาทดลองหาความเป็นไปได้ต่างๆของวัสดุ ที่จะมาถ่ายทอดไอเดียนั้น ส่วนการผลิตชิ้นงาน แตกต่างกันไปในแต่ละโครงการ มีทั้งที่ทำเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะพยายามทำเอง เพื่อจะได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ และประหยัดต้นทุนการผลิต จ้างเขาบ้างเพราะทำไม่เป็น หรือช่วยกันทำเพราะมีเวลาจำกัดในการผลิต ที่เหนื่อยและเครียดที่สุด น่าจะเป็นช่วงเวลาของการติดตั้งผลงาน ที่ต้องทำงานในช่วงเวลาจำกัดและผิดพลาดน้อยที่สุด ทีมงานที่ช่วยติดตั้งจึงมีความสำคัญมาก

แต่บางครั้งโจทย์ในการทำงานก็มาจากแนวคิดนิทรรศการ โดยเฉพาะนิทรรศการกลุ่ม ที่คิวเรเตอร์ทำหน้าที่คล้ายกับนายท้ายเรือ และก็มีบางครั้งที่ใช้วัสดุหรือสื่อเป็นจุดตั้งต้นก่อน ดังนั้นจึงไม่มีสูตรตายตัว และก็ไม่ได้ตั้งใจว่าจะทำงานอินสตอลเลชั่นแบบเจาะจงพื้นที่เสมอไป เพียงแต่ที่ผ่านมา อาจจะทำงานประเภทนี้อย่างสม่ำเสมอ มีงานที่ดีบ้างและไม่ดีบ้างปะปนกันไป และผลงานส่วนใหญ่มีอายุขัยสั้น

๑๒ มีนาคม ๒๕๖๓ จ.เชียงใหม่




back
Home / 68 / 69 / 70 / 71 / 72 / 73 / 74 / 75 / 76 / 77 / 78 / 79 / 80 / 81 / 82 / 83 / 84 / 85 / 86 / 87 / 88 / 89 / 90 / 91 / 92 / 93 / 94 /95 / 96/ 97 / 98 / 99 / 00 / 01 / 02 /03 / 04 / 05 / 06 / 07 / 08 / 09 / 10 / 11 / 12 / 13 / 14 / 15 / 16 /