Home / 68 / 69 / 70 / 71 / 72 / 73 / 74 / 75 / 76 / 77 / 78 / 79 / 80 / 81 / 82 / 83 / 84 / 85 / 86 / 87 / 88 / 89 / 90 / 91 / 92 / 93 / 94 / 95 / 96 /97/ 98 / 99 / 00 / 01 / 02 / 03 / 04 / 05 / 06 / 07 / 08 / 09 / 10 / 11 / 12 / 13 / 14 / 15 / 16

แนวคิด ลุ่มน้ำชี นิทรรศการภูมิทัศน์ของสายน้ำที่ผันแปร (Chi River_Riverscapes IN FLUX Exhibition)


Coordinated by Goethe-Institut Hanoi, 6 curators and 17 artists from Vietnam, Cambodia, Thailand, Myanmar, Indonesia and the Philippines are working on the subject of ecological and cultural change of major river landscapes in Southeast Asia, creating installations, photo series, video and sound installations.
The Chi River is the most important and the longest river in the northeastern region of Thailand. The river is like a large blood vessel that has nourished the Isaan (northeastern) people from ancient times to the present.

As I realize the effects of ecological changes in the Chi River, I intend to study and convey fishermen’s way of life that alters according to the changes of the ecological system.  Moreover, this project includes the fish-related culture and wisdom that is gradually fading from the Chi River. This project is shown in the following forms.

1.      Soundscape. To present the river’s sounds and boat routes, the variation of fish species in the Chi River, fish movement in various fishing tools and the sound of paddle boat. The soundscape can be listened through a small speaker inside the fishing creel.

2.      Installation Art. To present the fishermen’s fishing experience in form of five bamboo boats woven from materials for making fishing tools such as rattan and bamboo in boat structure and fishes shape. 

โครงการภูมิทัศน์ของสายน้ำที่ผันแปร เป็นโครงการที่สำรวจความสัมพันธ์ระหว่างคนและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะแม่น้ำสายหลักในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเด็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ผ่านทางผลงานศิลปะของศิลปินจำนวน 17 คนจาก ประเทศ

สำหรับโครงการภูมิทัศน์ของสายน้ำที่ผันแปรในประเทศไทย ผมเลือกสำรวจแม่น้ำชี ซึ่งเป็นแม่น้ำที่สำคัญและยาวที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย แม่น้ำชีเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชาวอีสานมาตั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบัน ในโครงการนี้ผมเน้นศึกษาวิถีชีวิตของชาวประมงในเขตจังหวัดมหาสารคาม ที่แปรผันไปตามการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ อันเป็นผลกระทบมาจาก การทิ้งขยะของชุมชนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำชี การระบายน้ำจากเขื่อนในจังหวัดขอนแก่นและชัยภูมิ การปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ส่งผลให้ปลาบางชนิดสูญพันธุ์ รวมทั้งเรือและอุปกรณ์จับปลาบางชนิด ค่อยๆสูญหายไปจากแม่น้ำชี

ผมตระหนักถึงผลกระทบของระบบนิเวศที่เปลี่ยนแปลงไปในแม่น้ำชี จึงมีความตั้งใจที่จะศึกษาและถ่ายทอดวิถีชีวิตของชาวประมงที่แปรผันไปตามการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ ตลอดจนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องกับปลาที่ค่อยๆสูญหายไปจากแม่น้ำชี  โดยนำเสนอผลงานในรูปแบบต่างๆ ดังต่อไปนี้

1.      ภูมิทัศน์ด้านเสียง นำเสนอเสียงของกระแสน้ำและทิศทางการเดินเรือ ความหลากชนิดของปลาในแม่น้ำชี การเคลื่อนไหวของปลาภายในเครื่องมือจับปลาชนิดต่างๆ และเสียงที่เกิดขึ้นจากการพายเรือประเภทต่างๆ นำเสนอเสียงที่ผสมผสาน ผ่านลำโพงขนาดเล็กที่ติดตั้งไว้ในข้องใส่ปลา

2.      ผลงานอินสตอลเลชั่น นำเสนอประสบการณ์การออกหาปลาของชาวประมง โดยเลือกใช้ไม้ไผ่ซึ่งเป็นวัสดุในการทำอุปกรณ์จับปลา มาเป็นวัสดุหลักในการสร้างผลงานประติมากรรมจำนวน 5 ชิ้น ตลอดจนการเลือกใช้โครงสร้างของเรือและรูปร่างของปลาในแม่น้ำชี มาสร้างเป็นรูปทรงของผลงาน

Riverscapes IN FLUX Blog

Riverscape IN FLUX Diary - Jedsada Tangtrakulwong

Picture from the Chi River

Chi River - Installation Art

Riverscapes IN FLUX Trailer 1 Riverscapes IN FLUX Trailer 2Riverscapes IN FLUX Trailer 3Riverscapes IN FLUX Trailer 4



Art and Culture Section, Dailynews Newspaper/ 15 July 2012





Home / 68 / 69 / 70 / 71 / 72 / 73 / 74 / 75 / 76 / 77 / 78 / 79 / 80 / 81 / 82 / 83 / 84 / 85 / 86 / 87 / 88 / 89 / 90 / 91 / 92 / 93 / 94 /95 / 96/ 97 / 98 / 99 / 00 / 01 / 02 /03 / 04 / 05 / 06 / 07 / 08 / 09 / 10 / 11 / 12 / 13 / 14 / 15 / 16 /